ความเชื่อของมนุษย์ต่อทานูกิ ของ ทานูกิ

เชื่อว่าความเชื่อเรื่องทานูกิของญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพลมาจากจีนพร้อมกับความเชื่อเรื่องปีศาจจิ้งจอก ซึ่งในจีนแทบไม่มีความเชื่อเรื่องทานูกิอยู่เลย แต่มีการสับสนในชนิดของสัตว์เมื่อถึงญี่ปุ่น[4]

โดยคำว่า "狸" เป็นคำคุณศัพท์ในภาษาจีนกลางสมัยใหม่ (ออกเสียง "หลี่") เดิมมีความหมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง เช่น แมว เป็นหลัก แต่เมื่อคำนี้ได้ถูกนำมาใช้ในญี่ปุ่น ปัญญาชนชาวญี่ปุ่นไม่อาจหาสัตว์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ได้ จึงใช้ไปในความหมายทั่วไปเช่น ทานูกิ, แมวดาว, แบดเจอร์ยุโรป, เพียงพอน และกระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น[5][6]

รูปปั้นชิงารากิยะกิ

ปัจจุบันในญี่ปุ่น มักปรากฏเครื่องปั้นดินเผารูปทานูกิยืนสองขา พุงป่อง สวมหมวกฟาง มือข้างนึงถือขวดเหล้าสาเก และอีกข้างถือถุงเงินที่ยังไม่ได้ใช้ประดับอยู่ตามหน้าร้านเหล้า ร้านอาหาร หน้าวัดหรือศาลเจ้า บ้านเรือนทั่วไป หรือกระทั่งข้างทางถนน นัยว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเหมือนมาเนกิเนโกะ ซึ่งรูปปั้นดินเผานี้ชื่อ "ชิงารากิยากิ" (信楽焼き) มีแหล่งผลิตเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เมืองชิงารากิ อำเภอโคกะ จังหวัดชิงะ[7]