การใช่ที่ดินบราวน์ฟิลด์หลังการพัฒนาแล้ว ของ ที่ดินบราวน์ฟิลด์

สิ่งปลูกสร้างเดิมในที่ดินบราวน์ฟิลด์ได้กลายอนุสรณ์ที่ระลึกในสวนสาธารณะใหม่ที่ "สถานีแอตแลนติก"

รัฐบาลของรัฐบางรัฐเข้มงวดในการนำที่ดินบราวน์ฟิลด์มาพัฒนาเพื่อใช้ในกิจกรรมบางอย่าง เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบจากการแปดเปื้อนคงค้างในที่ดินหลังการทำความสะอาดแล้ว ที่ดินในลักษณะเช่นว่านี้จะถูกสลักหลังโฉนดเพื่อห้ามการใช้งานบางประเภทหลังการทำความสะอาดแล้ว บางรัฐก็ออกกฎหมายบังคับให้ใช้ที่ดินบราวน์ฟิลด์ที่สะอาดแล้วพัฒนาเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นโครงการเชิงพาณิชย์ได้พื่อสงวนและป้องกันการทำลายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นอีก การพัฒนาฟื้นฟูที่ดินบราวน์ฟิลด์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญใน “วิทยาการปรับปรุงเมือง” (Urbanism) ของยุคปัจจุบัน และที่ดินบราวน์ฟิลด์บางแห่งที่สะอาดแล้วก็ถูกจัดให้เป็นพื้นที่นันทนาการหรือสวนสาธารณะของชุมชน

ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ที่ดินบราวน์ฟิลด์หลายแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้ทางสัญญจรสำคัญ เช่น ทางหลวงและแม่น้ำสายสำคัญที่ได้ฟื้นฟูบำบัดและใช้งานได้อีกนั้น ได้กลายเป็นทรัพยากรสำคัญของเมือง นครปอร์ตแลนด์ รัฐออริกอนได้เป็นผู้บุกเบิกรายแรกที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นถนนและทางรถไฟมาสนับสนุนโครงการทำความสะอาดที่ดินบราวน์ฟิลด์ และอีกตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่โครงการสถานีแอตแลนติกในแอตแลนตา รัฐจอร์เจียเป็นต้น

แต่โครงการที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในสหรัฐฯ ในด้านการพัฒนาที่ดินบราวน์ฟิลด์คือเมืองพิตสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมากในการแปลงที่ดินโรงงานถลุงเหล็กเก่าแก่จำนวนมาฟื้นฟูใช้เป็นย่านพักอาศัยระดับสูง ศูนย์การค้าและสำนักงาน อีกหลายๆ ตัวอย่างของการฟื้นฟูพัฒนาที่ดินบราวน์ฟิลด์ในพิตสเบิร์กรวมถึง:

  • ในโฮมสเตด เพนซิลเวเนียที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานเหล็กของบริษัทคาร์เนกีสตีล ได้รับการดัดแปลงเป็นศูนย์การค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง คือ “เดอะวอเตอร์ฟร้อนต์
  • ที่หมู่บ้าน “สควิเรลฮิลล์” ในพิตสเบิร์ก ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่กองขี้แร่ที่ต้องทิ้งหลังการถลุงของโรงถลุงเหล็ก ได้กลายเป็นโครงการที่พักอาศัยชั้นสูงมูลค่า 8,750 ล้านบาท (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเหรียญละ 36 บาท) ที่มีชื่อโครงการว่า “ซอมเมอร์เซทแอทฟริกปาร์ก
  • หมู่บ้านเซาท์ไซต์” ของพิทสเบิร์กที่แต่ก่อนเป็นโรงถลุงเหล็กของบริษัทแอลทีวี ได้รับการปแลงโฉมเป็น “เซาท์ไซต์เวิร์ก” การพัฒนาแบบผสมที่รวมสถานบันเทิงชั้นสูง ร้านค้าปลีก สำนักงานและบ้านพักอาศัยไว้ด้วยกัน
  • ชุมชนหมู่บ้าน “ฮาเซลวูด” ที่เคยเป็นที่ตั้งของโรงถลุงเหล็กของบริษัทโจนส์แอนด์ลัฟลินสตีล ได้ปแลงโฉมเป็นอุทยานสำนักงานมูลค่า 3,750 ล้านบาทที่มีชื่อโครงการว่า “พิทเบิร์กเทคโนโลยีเซนเตอร์"
  • บนเกาะ “เฮอรร์” เนื้อที่ 105 ไร่ ที่ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอัลเลอเกนีที่ซึ่งเคยเป็นสถานีรถไฟเพื่อขนปศุสัตว์และเป็นที่ตั้งโรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ ได้รับการแปลงเป็น “วอชิงตันแลนด์ดิง” ศูนย์การค้าริมฝั่งแม่น้ำ เป็นศูนย์การผลิต สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นที่พักอาศัยระดับสูง