ผล ของ ทุพโภชนาการ

อัตราการตาย

ตามข้อมูลของ Jean Ziegler ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสิทธิในอาหารตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2551 อัตราการตายเนื่องจากทุพโภชนาการคิดเป็นสัดส่วน 58% ของการตายทั้งหมดใน พ.ศ. 2549 "ในโลกนี้ ประมาณ 62 ล้านคน เมื่อรวมสาเหตุการทายทุกอย่างด้วยกัน ตายในแต่ละปี หนึ่งในสิบสองคนทั่วโลกขาดอาหาร[12] ใน พ.ศ. 2549 มากกว่า 36 ล้านคนเสียชีวิตด้วยความหิวโหยหรือโรคอันเนื่องมาจากการขาดสารอาหารรอง"[13]

ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก จนถึงขณะนี้ทุพโภชนาการเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของการตายในเด็ก มากถึงครึ่งหนึ่งในกรณีทั้งหมด[3] เด็กหกล้านคนเสียชีวิตด้วยความหิวโหยทุกปี[14] น้ำหนักแรกคลอดต่ำและภาวะทารกโตช้าในครรภ์เป็นเหตุการเสียชีวิตของเด็ก 2.2 ล้านคนต่อปี การไม่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เลวทำให้เด็กเสียชีวิตอีก 1.4 ล้านคน ภาวะขาดแคลนอื่น ๆ เช่น การขาดวิตามินเอหรือสังกะสี ทำให้เด็กเสียชีวิต 1 ล้านคนต่อปี ทุพโภชนาการในช่วงหนึ่งถึงสองปีแรกจะเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไม่ได้ เด็กที่ขาดอาหารจะโตขึ้นโดยมีสุขภาพเลวกว่าและมีสัมฤทธิ์ผลการศึกษาต่ำกว่า ลูกของเด็กเหล่านี้ก็มักมีแนวโน้มตัวเล็กกว่า ทุพโภชนาการก่อนหน้านี้เคยถูกมองว่าทำให้ปัญหาของโรคทรุดหนัก เช่น หัด ปอดบวม และท้องร่วง แต่ทุพโภชนาการเองก็อาจเป็นเหตุของโรคได้เช่นกัน และสามารถทำให้ถึงตายได้[3]

ทางจิตวิทยา

ทุพโภชนาการ ในรูปของการขาดไอโอดีน เป็น "สาเหตุที่ป้องกันได้ที่พบมากที่สุดของภาวะความบกพร่องด้านจิตใจทั่วโลก"[15] แม้การขาดไอโอดีนปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีมีครรภ์และทารก อาจทำให้ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ลดลงได้ถึง 10 ถึง 15 จุด ซึ่งลิดศักยภาพการพัฒนาประเทศอย่างไม่อาจคำนวณได้[15] ผลกระทบที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุดและรุนแรงที่สุด คอพอก เครทินิซึมและสภาพแคระ มีผลต่อชนกลุ่มน้อยขนาดเล็ก โดยมักเกิดในหมู่บ้านภูเขา แต่ 16% ของประชากรโลกอย่างน้อยมีคอพอกอย่างอ่อนซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ในคอขยายใหญ่[15]

มะเร็ง

ปัจจุบันมะเร็งพบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา ตามการศึกษาของสำนักงานเพื่อการวิจัยมะเร็งนานาชาติ "ในโลกกำลังพัฒนา มะเร็งตับ กระเพาะอาหารและหลอดอาหารพบได้มากกว่า โดยมักเชื่อมโยงกับการบริโภคอาหารแปรรูปที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารรมควันหรือใส่เกลือ และการติดเชื้อปรสิตซึ่งโจมตีอวัยวะ" อัตรามะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศยากจนเพราะมีการใช้ยาสูบเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว "มีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งที่เชื่อมโยงกับความร่ำรวยหรือ 'วิถีชีวิตตะวันตก' มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง เต้านมและต่อมลูกหมาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย อาหารและอายุ"[16]

ใกล้เคียง

ทุพโภชนาการ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ทุพภิกขภัย ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปีย พ.ศ. 2526–2528 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922 ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทุพโภชนาการ http://edition.cnn.com/2009/WORLD/europe/11/17/ita... http://www.cnn.com/2005/HEALTH/03/09/cancer.study/... http://www.csmonitor.com/2008/0604/p01s02-woaf.htm... http://www.economist.com/world/international/displ... http://www.emedicine.com/ped/topic1360.htm http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.nytimes.com/2006/12/16/health/16iodine.... http://www.nytimes.com/2007/12/02/world/africa/02m... http://www.nytimes.com/2009/05/24/opinion/24kristo... http://www.nytimes.com/2009/07/09/world/europe/09f...