หน้าที่ ของ ท่อหู

ปรับแรงดัน

ในเวลาปกติท่อหูของมนุษย์จะอยู่ในสถานะปิด ทว่าสามารถเปิดเพื่อให้อากาศจำนวนไม่มากผ่านเพื่อปรับแรงดันระหว่างหูชั้นกลางและชั้นบรรยากาศเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ความแตกต่างของความดันสามารถส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องแบบชั่วคราวจากการลดการขยับของเยื่อแก้วหูและกระดูกหู[5] มีหลายวิธีที่สามารถใช้เพื่อปรับแรงดันในหู เช่น การหาว การกลืน หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง โดยเป็นการตั้งใจเปิดท่อหู คนจะได้ยินเสียงดังเปาะเบา ๆ เมื่อเกิดการปรับแรงดันขึ้น มักเกิดเวลาขึ้นเครื่องบิน ดำน้ำ หรือขับรถบนพื้นที่ภูเขา เครื่องมือที่สามารถช่วยปรับแรงดันให้เท่ากันได้แก่ลูกโป่งที่ใช้กับจมูกซึ่งทำให้พองด้วยแรงดันอากาศบวก[6]

ระบายมูก

ท่อหูยังทำหน้าที่ระบายมูกออกจากหูชั้นกลาง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรืออาการภูมิแพ้สามารถทำให้ท่อหูหรือเยื่อคลุมรูเปิดมีอาการบวม และอาจมีน้ำขังเป็นแหล่งเติบโตสำหรับแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของหูติดเชื้อ อาจบรรเทาอาการบวมได้โดยการใช้ยาหดหลอดเลือด ตัวอย่างเช่น ซูโดอีเฟดรีน, ออกซีเมตาโซลีน และฟีนิลเอฟรีน[7] อาหารหูติดเชื้อพบบ่อยในเด็กเนื่องจากเด็กมีท่อยูเสเชียนสั้นกว่าทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ง่ายกว่าและด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางที่แคบกว่าทำให้การเคลื่อนตัวของน้ำเป็นไปได้ยากกว่า นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาและสุขอนามัยที่ไม่ดีทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่อหู http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.medicinenet.com/eustachian_tube_problem... http://emedicine.medscape.com/article/858777-treat... http://www.sinusinfectionhelp.com/eustachian_tube_... http://www.unboundmedicine.com/5minute/ub/view/5-M... http://www.whonamedit.com/ http://www.whonamedit.com/synd.cfm/1463.html http://anatomy.med.umich.edu/nervous_system/ear_an... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7662078