ประวัติ ของ ท่าอากาศยานชุมพร

ท่าอากาศยานชุมพร ก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร หลังประสบภัยพายุไต้ฝุ่นเกย์ (เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532) เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 และเปิดทำการบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2541 ใช้งบประมาณ 530 ล้านบาท และได้รับการประกาศเป็นสนามบินศุลกากร เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 ตั้งอยู่ในเขตตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีพื้นที่รวม 2,485 ไร่ ห่างตัวเมืองชุมพรไปทางทิศเหนือประมาณ 38 ก.ม. มีสายการบินนกแอร์และสายการบินไทยแอร์เอเชียทำการบินอยู่ในปัจจุบัน รวม 2 สายการบิน

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ประชุมบอร์ดบริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. อนุมัติให้รับโอนสนามบินชุมพรเช่นเดียวกับสนามบินสกลนคร, ตาก และอุดรธานี มาบริหารต่อจากกรมท่าอากาศยาน คาดใช้เวลา 1-2 เดือน ในการเสนอมติให้กระทรวงคมนาคม และเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติ [2]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี