ประวัติ ของ ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ

ท่าอากาศยานถูกสร้างประมาณปี ค.ศ. 1939–1942 เป็นช่วงระหว่างภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

เครื่องบินมิตซูบิชิ เคไอ-51 ที่ท่าอากาศยานคิมโพ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945

ยุคสงครามเกาหลี

ท่าอากาศยานคิมโพได้เป็นฐานทัพหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเกาหลี ในชื่อ เค-14

วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือ ได้บุกโจมตีเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดชนวนสงครามขึ้น และเครื่องบินที่นี่ (ซี-54 สกายมาสเตอร์) ได้เสียหายไป 1 ลำ ทำให้อเมริกาต้องอพยพผู้คนรวม 748 คนออกจากท่าอากาศยานคิมโพและซูว็อน[3] บ่ายวันนั้น เครื่องบินเอฟ-82 ทวินมัสแตง จำนวน 5 ลำ ได้นำเครื่องบินซี-54 สกายมาสเตอร์ จำนวน 4 ลำออกจากคิมโพ เมื่อเห็นว่าซี-54 หนึ่งลำถูกทำลายที่ซูว็อนโดยเครื่องบิน KPAF ลาว็อคกิน ลา-7 5 ลำ ต่อมา เครื่องบิน LA-7 จำนวนหนึ่ง ถูกยิงโดยเครื่องบินของอเมริกา[4]ไม่กี่วันต่อมา เครื่องบินเอฟ-80ซี 4 ลำ ได้ยิงเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-10 จำนวน 4 ลำ ตกที่คิมโพ[3]

คิมโพถูกยึดครองโดย KPA หลังจากการยึดครองโซลในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1950 วันถัดมา เครื่องบินบี-29 8 ลำ ได้ระเบิดคิมโพและย่านรถไฟโซล[3] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม KPAF ได้ใช้ฐานที่ตั้งนี้ในการโจมตีกองทัพสหประชาชาติ ต่อมาวันที่ 10 กรกฎาคม เครื่องบินยัก-7 จำนวนเจ็ดลำ ได้มาซ่อนอยู่ที่คิมโพ เพื่อใช้โจมตีสหประชาชาติที่ช็องจู ซึ่งวันถัดมาก็ได้ทำการระเบิดเครื่องเอฟ-80 บางลำในบริเวณนี้ ในวันที่ 15 กรกฎาคม กองทัพอเมริกาได้บุกคิมโพอีกครั้ง และได้ทำลายเครื่องบินยัก-7 จำนวนสองถึงสามลำ รันเวย์ก็ได้รับเสียหาย[5] ในวันที่ 5 สิงหาคม กองทัพอากาศที่ห้าได้บุกคิมโพ และทำลายเครื่องบินอีก 9 ลำ[6]

เมื่อสงครามอินช็อนเริ่มขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1950 กองทัพแบตตาไลออนที่สอง ได้ยึดคิมโพในวันที่ 17 กันยายน[7] และคิมโพถูกควบคุมโดยกลุ่มกองทัพ และเช้าวันที่ 18 กันยายน กองทัพสามารถรักษาลานจอดให้ปลอดภัยได้ ซึ่งลานจอดก็อยู่ในสภาพดีเยี่ยม เนื่องจากเกาหลีเหนือไม่สามารถทำลายมันได้[8] วันที่ 19 กันยายน กองทัพวิศวกรรมอเมริกาได้ทำการซ่อมทางรถไฟ 13 กิโลเมตร และซ่อมเครื่องบิน 32 ซี-54 ให้บินได้เหมือนเดิม ซึ่งกลุ่มทหาร VMF-212 ก็ถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ขึ้นเครื่องบินจากคิมโพไปย็อนโป ในวันที่ 25 กันยายน กองทัพวิศวกรรมได้ทำการซ่อมแวมรันเวย์ยาว 6,000 ฟุต (1,800 เมตร) ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม[9] วันที่ 6 ตุลาคม กลุ่ม USAF ได้มาควบคุมท่าอากาศยานต่อจาก USMC[3]

ต่อมาทหารอเมริกาถูกโจมตีที่เส้นขนานที่ 38 ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1951 นายพลริดจ์เวย์ จึงได้สั่งให้ทหารถอนกำลังย้ายลงไปทางใต้ ทำให้กัมโปถูกจีนและเกาหลีเหนือยึดครอง

กองทัพอเมริกาได้กลับมาอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 และได้ทำการบุกโจมตีจีนและเกาหลีเหนือที่คิมโพในวันที่ 25 มกราคม ทำให้จีนและเกาหลีเหนือต้องย้านไปที่ราบลุ่มแม่น้ำฮัน และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 กองทัพได้กลับมายึดครองคิมโพอีกครั้ง[10]

วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1953 นักบินชาวเกาหลีเหนือ โน คัม-ซ็อก ได้นำเครื่องบินเอ็มไอจี-15 ลงจอดที่คิมโพ

  • ซากเครื่องบินซี-54 ที่ถูกยิงในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950
  • เครื่องบินอิลยูชิน อิล-10 ที่ถูกยึดมาได้ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1950
  • เครื่องบินหมายเลข 77 สควอดรัน ในปี ค.ศ. 1952
  • การเปลี่ยนเครื่องยนต์ในเครื่องบินเอฟ-86อี ในปี ค.ศ. 1952
  • เครื่องบินเอ็มไอจี-15 วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1953

หลังสงครามเป็นต้นมา

ในปี ค.ศ. 1958 คิมโพได้กลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติของโซล มีเที่ยวบิน 226,000 เที่ยวต่อปี ท่าอากาศยานมีอาคารผู้โดยสารในประเทศ 1 แห่ง และระหว่างประเทศ 2 แห่ง ต่อมาเที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้ย้ายไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ปัจจุบันคิมโพมีรันเวย์สองทาง (3600 เมตร × 45 เมตร และ 3200 เมตร× 60 เมตร) อาคารผู้โดยสาร 2 แห่ง อาคารสินค้า 1 แห่ง

ท่าอากาศยาน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำฮัน ชานกรุงโซล (ชื่อคิมโพ มาจากชื่อเมืองแถวนั้น)

ท่าอากาศยานคิมโพ ได้ทำการเปิดเที่ยวบินใหม่ ดังนี้

สายการบินที่เคยมาลงที่ท่าอากาศยานคิมโพ แต่ยกเลิกไปแล้ว ได้แก่ แอร์นิวซีแลนด์, แอนเซตต์ออสเตรเลีย (ปิดกิจการ), คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ยุบรวมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์), ไอบีเรียแอร์ไลน์, คูเวตแอร์เวย์, เลาดาแอร์ (ยุบรวมกับออสเตรียนแอร์ไลน์), ควอนตัส (ขนส่งเฉพาะสินค้า), ซาอุเดีย, สวิสแอร์ (ปิดกิจการ), วีเอเอสพี (ปิดกิจการ),การบินไทย

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ http://militarytimes.com/citations-medals-awards/r... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://worldaerodata.com/wad.cgi?airport=RKSS http://www.airport.co.kr/mbs/gimpoeng/ http://www.airport.co.kr/mbs/kaceng/jsp/stats/airp... http://araib.mltm.go.kr/USR/WPGE0201/m_34586/DTL.j... http://www.af.mil/information/heritage/milestones.... http://aviation-safety.net/database/record.php?id=... http://www.southkoreanews.net/story.php?rid=449008... http://web.archive.org/web/20060518132314/http://1...