สิ่งอำนวยความสะดวก ของ ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต

พื่นที่ของท่าอากาศยานทั้งหมด 21.24 ตารางกิโลเมตร โดยมีจุดเด่นของอาคารผู้โดยสารหนึ่งหลังเดิมที่มีขนาดเล็ก หนึ่งรันเวย์ และส่วนประกอบอย่างอาคารสินค้า อาคารบริการต่างๆ หลังจากมีการสร้างขยายทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้มีอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ อาคารควบคุมการบินหลังใหม่ อาคารใหม่ๆ เหล่านี้ได้รับการทดสอบตอนเดือนธันวาคม 2560 ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ[5] สิ่งอำนวยความสะดวกยังรวมถึงอาคารผู้โดยสารระดับ VIP และอาคารปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของโอมานแอร์ สำหรับไฟลท์ของกษัตริย์และกองทัพอากาศโอมานนั้น จะใช้สนามบินแห่งนี้บางส่วนด้วย

ปี 2562 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รับการติดตั้งระบบตรวจจับโดรนอย่างAaronia AARTOS C-UAS [6] ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งแรกที่ได้รับการติดตั้งระบบดังกล่าว

อาคารผู้โดยสาร

Aerial view of the entire airport showing the new terminal in the center with the old facilities on topTerminal 2, the former main building

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 (อาคารใหม่)

อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ถูกเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที 20 เดือนมีนาคม ปี 2561 เป็นอาคารทางเหนือของอาคารหลังเดิมและรันเวย์เดิม อาคารหลังใหม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปีเมื่อเฟสแรกเสร็จสิ้น [7] สำหรับในส่วนของเฟสที่สองและสามนั้น ท่าอากาศยานสามารถรองรับได้ที่ 24 และ 48 ล้านคนตามลำดับ [7] สำหรับอาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ 580,000 ตาราเมตร มีจำนวนเคาเตอร์เช็คอิน 118 เคาเตอร์ และ 10 สายพานรับกระเป๋า และจำนวน 82 เคาเตอร์สำหรับตรวจลงนามพาสปอร์ต มีจุดเชื่อมเครื่องบิน 45 จุด และมีอาคาร ATC สูง 97 เมตร อาคารใหม่แห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างรันเวย์เก่าและรันเวย์ใหม่ ส่วนรันเวย์ใหม่นั้นสามารถรองรับเครื่องขนาดใหญ่อย่าง Airbus A380s และ Boeing 747s.ได้[8]

วันที่ 31 มกราคา 2561 มีการประกาศย้ายอาคารผู้โดยสารไปยังหลังใหม่ ในวันที่ 20 มีนาคม 2561 [9] อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ถูกให้บริการครั้งแรกเมื่อเวลา 15.00 น. โดยสารการบินโอมานแอร์ และขาเข้าจากนาจาฟ เวลา 18.30 น.

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (อาคารเก่า)

อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารเดี่ยว สองชั้นรูปตัวที เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2513 ถูกนำมาเพื่อใช้ทดแทน ท่าอากาศยานบาอิทอัลฟาลาจ และสามารถที่จะขยายเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของผู้โดยสารได้[10]

อาคารผู้โดยสารหลังนี้มีเคาเตอร์เช็คอินทั้งหมด 58 เคาเตอร์ ห้องพักผู้โดยสารขาออกจำนวน 23 จุด และ 4 สายพานกระเป๋า และรวมถึงจุดให้บริการและร้านค้าบางส่วน [10] การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารและเครื่องบินจะใช้รถบัสเพื่อให้บริการเนื่องจากตัวอาคารผู้โดยสารแห่งนี้ไม่มีสะพานเชื่อมต่อระหว่างอาคารกับเครื่องบินโดยตรง

หลังจากการเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2561 อาคารผู้โดยสารหลังเก่าถูกใช้สำหรับสารการบินต้นทุนต่ำ[9] ในวันที่อาคารผู้โดสารหลังใหม่ถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการไฟลท์สุดท้ายของอาคารผู้โดยสารหลังเก่านี้คือไฟลท์ที่เดินทางไปยังนครซูริค ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ และไฟลท์ในประเทศไปยังซาลาล่า

ทางวิ่งและลานจอดเครื่องบิน

ท่าอากาศยานแห่งนี้มีรันเวย์ 2 แห่ง โดยใช้รันเวย์ 08R/26L เดิมนั้นเป็นซึ่งรันเวย์นี้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่าง โบอิ่ง 747-400 และ โบอิ่ง 777 ส่วนทางวิ่งแห่งใหม่ที่อยู่ทางทิศเหนือของอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คือทางวิ่ง 08L/26R ที่มีความยาว 4000 เมตร และสามารถรองรับการขึ้นลงของเครื่องบินอย่างโบอิ่ง 747-8 แอร์บัส เอ380 และแอนโทนอฟ เอเอ็น 2255 ได้ ซึ่งทางวิ่งแรกนั้นทางสนามบินได้ทำการปิดเพื่อปรับปรุงและขยาย[11]

อาคารผู้โดยสารหลังเก่าสามารถรองรับการจอดของเครื่องบินได้ 32 ลำ [10] ทั้งสองด้านของอาคารผู้โดยสารรูปตัวที

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต http://www.bechtel.com/projects/oman-airport-expan... http://gulfnews.com/news/gulf/oman/new-muscat-airp... http://www.omanairports.com http://www.omanairports.com/seeb_airporthistory.as... http://ourairports.com/airports/OOMS/pilot-info.ht... http://timesofoman.com/article/102704/Oman/Governm... http://en.kishairlines.ir/flight-schedule/ //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.raf.mod.uk/history/RoyalAirForceNimrods... https://www.omanair.com/en/plan-book/our-network