ประวัติศาสตร์ ของ ท่าอากาศยานนานาชาติโปขรา

แนวคิดของการสร้างท่าอากาศยานนานาชาติขึ้นในโปขราเริ่มีขึ้นในปี 1971[7] ต่อมาในปี 1976 รัฐบาลเนปาลได้ครอบครองที่ดินสำหรับสร้างท่าอากาศยานนานาชาติขึ้นใหม่ในโปขรา[8] ในปี 1989 องค์การความร่วมมือนานาชาติญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้[9] อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถูกพับเก็บไปในที่สุด และถูกนำมาจุดประกายใหม่อีกครั้งในปี 2009 เมื่อข้อตกลงการบินทวิภาคีระหว่างอินเดียกับเนปาลได้ถูกลงนาม[10] ในปี 2013 องค์กรการบินพลเรือนเนปาลลงนามในขึ้ตกลงกับบริษัท ไชน่าซีเอเอ็มซีเอ็นยิเนียริง (China CAMC Engineering) เพื่อเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างท่าอากาศยานนี้ การก่อสร้างเริ่มต้นในปี 2016 และตั้งเป้าหมายว่าจะแล้วเสร็จในห้าปี คือในปี 2021 ด้วยงบประมาณรวม 305 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[6] ที่ซึ่งจำนวนนี้ ธนาการการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีนได้ให้การกู้ยืม 215 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ธนาการการพัฒนาเอเชียยังให้การกู้ยืม 37 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมีกองทุนการพัฒนานานาชาติโอเป็กให้กู้ยืม 11 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[11]

ในปี 2020 มีการวางแผนไว้ว่าจะเปิดท่าอากาศยานนานาชาติใหม่ทั้งสองแห่งของเนปาล คือโปขราและท่าอากาศยานโคตมพุทธ พร้อมกันในวันเดียวกัน[12] ในปี 2020 ได้มีการพบว่าเขาริเฐปณี (Rithepani Hill) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานทางตะวันออกจะต้องถูกทำให้ราบเพื่อช่วยอากาศยานขาเข้ามายังลานบินของท่าอากาศยาน[13] การตัดสินใจนี้ถูกชะลอลงด้วยการประท้วงของชาวบ้านในท้องที่[14] และการทลายเขาถูกเลื่อนออกไปจนถึงปลายปี 2022[15]

หลังการเลื่อนการเปิดออกไปเป็นปี 2022 ในปี 2021 เจ้าหน้าที่ทางการได้ออกมาประกาศยืนยันว่าท่าอากาศยานจะเปิดสองระยะ แบ่งเป็นการบินในประเทศในเดือนมกราคม 2022 และการบินระหว่างประเทศในเดือนเมษายน 2022[16]

ในปี 2022 มีการประกาศว่าจะทำการบินเที่ยวบินวัดระดับในเดือนตุลาคม 2022[17] แต่ถูกเลื่อนไปเป็นปลายเดือนพฤศจิกายน 2022[18] ในกลางปี 2022 องค์กรการบินพลเรือนเนปาลได้เลื่อนการเปิดออกไปเป็นเดือนธันวาคมเนื่องจากไม่สามารถหาผู้ตรวจการเที่ยวบินได้[19] และในวันที่ 8 สิงหาคม 2022 ได้มีการประกาศเลื่อนวันเปิดท่าอากาศยานเป็นครั้งสุดท้ายคือวันที่ 1 มกราคม 2023[20]

ท่าอากาศยานเปิดให้บริการในวันที่ 1 มกราคม 2023 โดยมีนายกรัฐมนตรี ปุษปกมล ทาหาล เป็นผู้เดินทางมาเปิด นครโปขรายังจัดให้วันที่เปิดท่าอากาศยานนี้เป็นวันหยุดทางการหนึ่งวันเพื่อเฉลิมฉลองการเปิดท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้[21] เที่ยวบินแรกที่เดินทางถึงยังท่าอากาศยานเป็นเที่ยวบินของบุดดาแอร์ ที่มีนายกรัฐมนตรีและบรรดาผู้แทนรัฐโดยสาร[22]

การพัฒนาท่าอากาศยานดำเนินต่อทันทีหลังพิธีเปิด เนื่องจากท่าอากาศยานในเวลานั้นยังคงไม่มีส่วนศุลกากร[23] และโกดังเชื้อเพลิง ซึ่งในตอนแรกต้องใช้การขนส่งเชื้อเพลิงทางรถบรรทุกมาจากท่าอากาศยานโปขราแห่งเดิม[24]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานนครราชสีมา ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานนานาชาติโปขรา http://myrepublica.nagariknetwork.com/news/127498/ http://archive.nepalitimes.com/news.php?id=16446#.... http://archive.nepalitimes.com/news.php?id=19254#.... http://archive.nepalitimes.com/news.php?id=19515#.... http://pokharaairport.com.np http://pia.caanepal.gov.np //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.aviationnepal.com/bhairahawa-and-pokha... https://www.aviationnepal.com/rithepani-hill-to-cu... https://kathmandupost.com/money/2022/03/19/technic...