ประวัติ ของ ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด

เดิมจังหวัดร้อยเอ็ด มีสนามบินทหารซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพบก มีทางวิ่งกว้าง 30 เมตร ยาว 800 เมตร ผิวทางวิ่งเป็นลูกรัง ทิศทางของทางวิ่ง N 10 W . ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปลายทางวิ่งห่างจากเขตชุมชนประมาณ 150 เมตรไม่สามารถพัฒนาให้เป็นสนามบินพาณิชย์ได้ เนื่องจากอยู่ใกล้เมืองมากเกินไป สถานที่คับแคบและมีตึกสูง จากแผนพัฒนาสนามบินภูมิภาคกรมการขนส่งทางอากาศ (พ.ศ. 2530 – 2540) ได้สำรวจพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ยโสธร และมุกดาหาร ยังไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการทางด้านการบินพาณิชย์ โดยเฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ดมีสภาพทางภูมิศาสตร์ และโครงข่ายการคมนาคมทางบกเชื่อมกับจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดดังกล่าวข้างต้น มีศักยภาพและปริมาณจราจรเพียงพอที่จะพัฒนาให้มีสนามบินพาณิชย์เพื่ออำนวย ความสะดวกในการเดินทางของประชาชนได้ และหากมีสนามบินพาณิชย์ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก็จะมีพื้นที่บริการของสนามบินครอบคลุมจังหวัดใกล้เคียงถึง 4 จังหวัด ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้ก่อสร้างท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี