ประวัติ ของ ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก

ที่มาของชื่อ "แกตวิก" นั้น ต้องนับย้อนไปถึงปีพ.ศ. 1784 โดยเป็นชื่อของหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานในปัจจุบัน คำว่าแกตวิก รับเอามาจากภาษาแองโกล-แซกซอน ของคำว่า แกต (gāt) หมายถึง แพะ (goat) และ วิค (wīc) หมายถึง ฟาร์มปศุสัตว์ (dairy farm) ดังนั้นจึงหมายถึง "ฟาร์มแพะ"

ในปีพ.ศ. 2434 มีการสร้างสนามแข่งม้าขึ้นที่แกตวิก ใกล้กับเส้นทางรถไฟสายลอนดอน-บริงตัน โดยที่ตัวสถานีนั้นก็ได้สร้างทางลาดไว้สำหรับคอกที่ขนม้าอีกด้วย สนามแข่งได้รับความนิยมอย่างมากและได้จักการแข่งขันทั้งทางวิบากและทางเรียบ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น สนามแห่งนี้ก็ได้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันแข่งม้าระดับชาติ (Grand National)

จนกระทั่งทศวรรษ 1920 (พ.ศ. 2463) พื้นที่ที่ติดกับสนามแข่งม้าที่ Hunts Green Farm ไปจนถึง Tinsley Green Lane ถูกนำไปใช้เป็นสนามบินและได้จดทะเบียนในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2473 จากนั้นได้มีการตั้ง Surrey Aero Club ขึ้น และเข้ามาใช้โรงนาเก่าของ Hunts Green Farm มาเป็นที่ตั้งสโมสร

บริษัทเรดวิง แอร์คราฟท์ (Redwing Aircraft Company) เข้ามาซื้อที่สนามบินในปีพ.ศ. 2475 และเปิดเป็นโรงเรียนสอนการบิน สนามบินแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นที่ขึ้นบินเพื่อชมการแข่งขันอีกด้วย ในปีพ.ศ. 2476 สนามบินถูกขายให้กับนักลงทุนคนหนึ่งที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนให้เป็นท่าอากาศยาน และรัฐมนตรีที่ดูแลการคมนาคมทางอากาศก็ได้อนุญาตให้เปิดเส้นทางการบินพาณิชย์จากแกตวิกในปีถัดมา จนกระทั่งปีพ.ศ. 2479 ได้ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายหลายแห่งทั่วภาคพื้นทวีป มีการสร้างอาคารผู้โดยสารรูปวงกลมที่ชื่อว่า "The Beehive" ซึ่งมีรถไฟใต้ดินที่เชื่อมกับสถานีรถไฟแกตวิด ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีวิคตอเรียไปยังอาคารผู้โดยสารได้โดยตรง มีอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้งในปีพ.ศ. 2479 สร้างความสงสัยเรื่องความปลอดภัยของท่าอากาศยาน และปัญเรื่องหมอกและน้ำก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางรถไฟใต้ดินก็มักจะถูกน้ำท่วมหลังจากที่ฝนตกหนัก และเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ และความต้องการทางวิ่งที่ยาวขึ้น บริติช แอร์เวย์ จำกัด จึงย้ายการบินไปอยู่ที่ท่าอากาศยานครอยดอนในปีพ.ศ. 2480 แทน แกตวิกจึงได้เปลี่ยนมาเป็นสนามบินส่วนบุคคลอีกครั้ง และยังเป็นที่ฝึกนักบินของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร รวมทั้งเป็นที่สนใจของบริษัทซ่อมบำรุงอากาศยานอีกด้วย

แกตวิกครอบครองโดยกองทัพอากาศเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 เพื่อใช้เป็นที่ซ่อมบำรุงอากาศยาน และถึงแม้ว่าจะมีกองบิน และกองพันทหารใช้ที่แกตวิกเป็นฐาน แต่ก็จะใช้เป็นหน่วยซ่อมบำรุงเป็นหลักเท่านั้น

ช่วงหลังสงคราม หน่วยบำรุงรักษาอากาศยานยังคงประจำการที่แกตวิก แต่ก็มีเครื่องบินเช่าเหมาลำจำนวนหนึ่งเริ่มมาใช่บริการที่แกตวิก และส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งสินค้า แต่ตัวท่าอากาศยานก็ยังประสบปัญหาน้ำขังและประมาณการใช้ที่น้อย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เจ้าของท่าอากาศได้ออกเตือนว่าควรถอนกองกำลังออกก่อนเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และให้กลับไปใช้เป็นท่าอากาศยานเอกชน

ขณะนั้นท่าอากาศยานสแตนสเต็ดถูกยกให้เป็นท่าอากาศยานอันดับสองของลอนดอน ส่วนอนาคตของแกตวิกนั้นยังไม่แน่นอน นอกจากที่สภาปกครองท้องถิ่นและรัฐบาลในปีพ.ศ. 2493 ตัดสินใจให้แกตวิกเป็นท่าอากาศยานเสริมของฮีทโธรว์ ต่อมาบริติช ยูโรเปียน แอร์เวย์ ได้เริ่มเปิดเส้นทางบินจากแกตวิก และบีอีเอ เฮลิคอปเตอร์ ก็เริ่มให้บริการที่ท่าอากาศยานแห่งนี้ จากนั้นรัฐบาลได้ออกประกาศในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2495 ว่าจะต้องพัฒนาท่าอากาศยานแห่งนี้ แกตวิกจึงปิดตัวอย่างเพื่อการปรับปรุงด้วยงบมหาศาล (7.8ล้านปอนด์) ช่วงปีพ.ศ. 2499 ถึง 2501 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่2 เสด็จพระราชดำเนินมายังท่าอากาศยานแห่งใหม่ ด้วยเครื่องบินDe Havilland Heron เปิดท่าอากาศยานอย่างเป็นทางการ

แกตวิกโฉมใหม่ได้เป็นท่าอากาศยานแห่งแรกของโลกที่มีทางรถไฟเชื่อมต่อโดยตรง และยังเป็นท่าอากาศยานแห่งแรกๆที่มีการออกแบบทางเชื่อมจากอาคารผู้โดยสารไปยังบริเวณที่รอเครื่องใกล้กับเครื่องโดยสาร มีเพียงระยะทางสั้นๆ เท่านั้นที่ต้องเดินออกนอกอาคารไปยังเครื่องโดยสาร ส่วนงวงช้าง (jetbridge) ที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ถูกติดตั้งภายหลังในการต่อเติมและขยายในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 (พ.ศ. 2513-2532)

ตลอดช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 (พ.ศ. 2493-2502) จำนวนผู้โดยสารเพิ่มชึ้นอย่างต่อเนื่อง จนต้องมีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และสร้างอาคารจอดเครื่องบินระยะไกลขึ้นในปรพ.ศ. 2526 แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ในปีพ.ศ. 2531 อาคารผู้โดยสารฝั่งเหนือจึงแล้วเสร็จ ซึ่งมีระบบเครื่อย้ายคนเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 อาคารจอดเครื่องบิน 6 มูลค่า 110 ล้านปอนด์ ก็เปิดให้บริการพร้อมด้วยทางเชื่อลอยฟ้ากับอาคารผู้โดยสารฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นทางเชื่อมที่อยู่เหนือทางขับที่ยังคงใช้งานปกติอยู่ จึงกลายเป็นจุดชมเครื่องบินที่กำลังวิ่งอยู่บนทางขับ

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี