ประวัติ ของ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี

สนามบินสุรินทร์ ลงทุน 30 ล้านบาท สร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ แรกเริ่มเปิดสนามบินมีสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ มาทำการบินที่สนามบิน 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ แต่เกิดปัญหาเนื่องจากขาดทุนจึงยกเลิกเส้นทาง ต่อมาได้มีสายการบิน แอร์อันดามัน มาทำการบิน 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนจึงต้องปิดกิจการและยกเลิกเส้นทาง

พ.ศ. 2552 สายการบินพีบีแอร์ ได้เข้ามาเปิดเส้นทางบินสุวรรณภูมิ - สุรินทร์ แต่เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาทางการเงินจึงต้องประกาศปิดกิจการและยกเลิกทำการบิน โดยทำการบินได้เพียง 3 วัน

ในปี พ.ศ. 2554 สายการบินไทยรีเจียนัล แอร์ไลน์ได้ทำการเปิดเส้นทางบินสุวรรณภูมิ - สุรินทร์ โดยใช้เครื่องบินขนาดเล็กมาทำการบิน

พ.ศ. 2556 สายการบินนกแอร์ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานเอกชนเตรียมเปิดเส้นทางบินดอนเมือง - สุรินทร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการลงทุนโดยจะใช้เครื่องบินแบบ SAAB 340 มาทำการบิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดการบินได้ภายในปลายนี้ 2556 แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้

พ.ศ. 2557 สายการบิน กานต์แอร์ ขออนุญาตทำการบินในเส้นทาง กรุงเทพ-สุรินทร์ ช่วงเทศกาลงานช้าง แต่ประสบปัญหาด้านความปลอดภัยของสนามบินสุรินทร์ ทำให้ยกเลิกไป

พ.ศ. 2558 สายการบิน กานต์แอร์ ได้รับการอนุมัติจากกรมการบินพลเรือน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 ให้สามารถเปิดทำการบินแบบประจำในเส้นทางสายรองและย่อยภายในประเทศ กรุงเทพ-สุรินทร์ แต่ก็ยังไม่ได้ทำการบิน

พ.ศ. 2559 สายการบิน อาร์แอร์ไลน์ ได้เตรียมการเปิดทำการบินในเส้นทางดังกล่าว และมีแผนจะเปิดทำการบินในเดือนพฤษภาคมของปีดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ได้ทำการบิน[1]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี