ประวัติ ของ ธงชาติแคนาดา

อาณานิคมอังกฤษ

ธงชาติอังกฤษ (ธงกางเขนนักบุญจอร์จ) ธงอาณานิคม ก่อนการประกาศพระราชบัญญัติสหภาพ (ค.ศ. 1497–1707) ใช้เป็นธงนาวีบนเรือจอห์น คาร์บอทธงชาติสกอตแลนด์ (ธงกางเขนนักบุญแอนดรูว) ธงอาณานิคมสกอตแลนด์ ก่อนการประกาศพระราชบัญญัติสหภาพ (ค.ศ. 1621–1707)ธงยูเนียนแจ็ก
(ค.ศ. 1763–1801)
ธงยูเนียนแจ็ก
(ค.ศ. 1801 - ปัจจุบัน)

อาณานิคมฝรั่งเศส

ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1534-1604)ธงเรือราษฎร์ (ค.ศ. 1604-1663)ธงอาณานิคมฝรั่งเศสใหม่ (ค.ศ. 1663-1763)

สหพันธรัฐในเครือจักรภพ

ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1868-1870)ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1868-1870)ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1905-1922)ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1905-1922)

ก่อนหน้านี้ ธงอย่างหนึ่งของแคนาดาที่เรียกว่า "ธงแคแนเดียนเรดเอดไซน์" (Canadian Red Ensign) ซึ่งมีลักษณะตามแบบธงแสดงสัญชาติสีแดง (ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร) นั้นได้เริ่มมีการใช้อย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 และ ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ตามกฎหมายในปี พ.ศ. 2488[1][2] รวมถึง "ธงแคแนเดียนบลูเอดไซน์" (Canadian Blue Ensign) ซึ่งมีลักษณะตามแบบธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน (ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร) สำหรับเรือราชการในสังกัดรัฐบาล และ ใช้เป็นธงฉานกองทัพเรือ


ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1921-1957)ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1921-1957)ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1957-1965)ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1957-1965)

การถกเถียง

ในปี พ.ศ. 2507 ได้เกิดการถกเถียงครั้งใหญ่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบธงชาติแคนาดา (เหตุการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "Great Flag Debate") นายเลสเตอร์ บี. เพียร์สัน (Lester B. Pearson) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาแบบธงชาติแคนาดาใหม่ โดยแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกจากแบบธงที่เข้ารอบ 3 แบบในรอบสุดท้าย ได้แก่แบบธงใบเมเปิ้ลซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของจอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ โดยมีต้นแบบมาจากธงของราชวิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันทื่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ซึ่งต่อมารัฐบาลแคนาดาได้ประกาศให้วันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันธงชาติแคนาดา[3][4]โดยทั่วไปแล้วธงของหน่วยงานราชการในประเทศแคนาดาล้วนมีส่วนประกอบของธงชาติแคนาดาหรือรูปใบเมเปิ้ลประกอบอยู่ด้วยเสมอ อย่างไรก็ตาม ธงสหภาพหรือยูเนียนแจ็กนั้นยังถือว่าเป็นธงราชการของแคนาดาอย่างเป็นทางการอยู่ โดยใช้ในฐานะธงของประเทศสมาชิกเครือจักรภพและพระราชวงศ์อังกฤษ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าธงสหภาพได้ปรากฏในส่วนประกอบของธงอื่นๆ ในประเทศแคนาดา เช่น ธงประจำรัฐบริติชโคลัมเบีย รัฐมานิบาโต และรัฐออนตาริโอ เป็นต้น[5]

ธงเพียร์สัน (The Pearson Pennant) แบบธงชาติแคนาดาแบบแรกที่เสนอต่อรัฐสภาแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2507 (ไม่มีการใช้จริง)ธงราชวิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) ซึ่งจอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบธงชาติแคนาดาปัจจุบันธงใบเมเปิ้ล
แบบที่นำเสนอต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2507
ธงชาติแคนาดา
พ.ศ. 2508 - ปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธงชาติแคนาดา http://archives.cbc.ca/politics/language_culture/t... http://www.canadianheritage.gc.ca/progs/cpsc-ccsp/... http://www.canadianheritage.gc.ca/progs/cpsc-ccsp/... http://www.canadianheritage.gc.ca/progs/cpsc-ccsp/... http://www.histori.ca/minutes/minute.do?id=13539 http://people.stfx.ca/lstanley/stanley/flagmemo2.h... http://rcn-rcaf.blogspot.com/ http://www.youtube.com/watch?v=L6NGnVgI75o&feature... http://www.loeser.us/flags/canada.html https://fotw.info/flags/ca.html