ธงประจำจังหวัดของไทยแบ่งตามภูมิภาค ของ ธงประจำจังหวัดของไทย

กรุงเทพมหานคร

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
กรุงเทพมหานครธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีเขียว กลางธงมีภาพดวงตราประจำกรุงเทพมหานคร สีขาวไม่พบเอกสารระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง แต่พบว่าธงที่ใช้งานจริงนั้นมีขนาดเท่ากันกับธงไตรรงค์

ภาคเหนือ

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
จังหวัดเชียงรายธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า-ม่วง-ฟ้า แบ่งตามแนวตั้ง กลางแถบสีม่วงมีรูปช้างสีขาวและแถบข้อความระบุชื่อจังหวัดไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[1][2]
จังหวัดเชียงใหม่ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นฟ้า กลางธงมีรูปตราประจำจังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปช้างเผือกยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[3]
จังหวัดน่านธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นแถบ 2 สีตามแนวนอน แถบบนสีม่วง แถบล่างสีเหลือง กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดน่าน เป็นรูปพระธาตุแช่แห้งบนหลังโคอุสุภราชไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[4]
จังหวัดพะเยาธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีบานเย็น กลางธงมีรูปดวงตราประจำจังหวัดพะเยา เป็นรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด ประดิษฐานอยู่เหนือภูกามยาวและกว๊านพะเยา มีช่อลายกนกเปลวและช่อรวงข้าวล้อมรอบองค์พระเจ้าตนหลวง ช่อลายกนกเปลวมีจำนวน 7 ช่อ ตามจำนวนอำเภอเมื่อแรกตั้งจังหวัด สีที่ใช้ในธงมีความหมายดังนี้
  • สีบานเย็น ใช้เป็นสีของพื้นธง หมายถึง ภูมิภาคมณฑลพายัพ
  • สีฟ้า ใช้เป็นสีพื้นของดวงตราประจำจังหวัด หมายถึง สภาพภูมิอากาศเยือกเย็น และความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อผู้ไปเยี่ยมเยือน
  • สีเหลือง ใช้เป็นสีของช่อรวงข้าว หมายถึง เป็นดินแดนที่รุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุขในร่มเงาพระบวรพุทธศาสนา
  • สีเขียว ใช้เป็นสีของใบข้าวและรูปเทือกเขาภูกามยาว หมายถึง ความสดชื่นงอกงามแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[5][6]
จังหวัดแพร่ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นแถบ 2 สีตามแนวตั้ง แถบด้านติดคันธงสีดำ แถบด้านชายธงสีแดง กลางธงมีรูปวงกลมพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งบนบรรจุรูปวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ครึ่งล่างมีข้อความ "จังหวัดแพร่" เรียงเป็นแถบโค้งครึ่งวงกลมไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[7]
จังหวัดแม่ฮ่องสอนธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงเป็นสีน้ำตาล–สีฟ้า–สีน้ำตาล แบ่งตามแนวนอนเป็นสามส่วนเท่ากัน กลางแถบสีฟ้าเป็นรูปตราประจังหวัดในวงกลมสีแดง รูปตราประจำจังหวัด ด้านบนเป็นภาพท้องฟ้าสีฟ้า มีเมฆสีเหลือง ต่ำลงมาเป็นท้องน้ำสีฟ้า มีริ้วคลื่นน้ำสีขาว ในน้ำมีช้างพลายสีน้ำตาล 1 เชือก ด้านล่างเป็นแถบสีเหลืองขอบแดง ตรงกลางมีคำว่า “จังหวัดแม่ฮ่องสอน” สีแดงไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[8]
จังหวัดลำปางธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีเขียว กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดลำปาง เป็นรูปรูปไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มมณฑปพระธาตุลำปางหลวงไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[9]
จังหวัดลำพูนธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า กลางธงมีรูปตราประจำจังหวัดลำพูน เป็นรูปพระธาตุหริภุญไชย เบื้องล่างของดวงตรามีข้อความ "จังหวัดลำพูน"ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[10]
จังหวัดอุตรดิตถ์ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแสด คาดแถบสีม่วงแก่ 2 ริ้วตัดผ่านกลางผืนธงเป็นรูปกากบาท ตรงกลางผืนธงมีเครื่องหมายดวงตราประจำจังหวัด มีสัญลักษณ์เป็นพระแท่นศิลาอาสน์มีมณฑปสีเหลืองครอบอยู่สองข้างของมณฑปเป็น ลวดลายกนกสีน้ำเงินเข้ม ด้านหน้ามณฑปมีรูปครุฑสีแดง ทั้งหมดบรรจุในกรอบวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร ด้านล่างมีตัวหนังสือชื่อจังหวัดที่เส้นรอบขอบวงขนาดกว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร แถบสีม่วงแก่ทั้ง 2 แถบซึ่งตัดผ่านผืนธงเป็นรูปกากบาท มีขนาดกว้าง 70 เซนติเมตร[11][12]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
จังหวัดกาฬสินธุ์ธงพื้นสีเขียว-แสด-เขียว แบ่งตามแนวนอน กลางธงมีตราประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นดวงตราวงกลม บรรจุภาพติณชาติ (ต้นหญ้า) บึงน้ำสีดำ (สัญลักษณ์แทนความหมายของชื่อจังหวัดกาฬสินธุ์) ภูเขา และเมฆพยับฝน เบื้องล่างของดวงตรามีข้อความ "จังหวัดกาฬสินธุ์" โอบดวงตราเป็นแถวโค้งครึ่งวงกลมไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[13]
จังหวัดขอนแก่นธงพื้นสีเลือดหมู ตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระเจดีย์ก่อไว้บนตอไม้ หมายถึง พระธาตุขามแก่นไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[14]
จังหวัดชัยภูมิธงพื้นสี้น้ำตาล-แสด-น้ำตาล แบ่งตามแนวนอน กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปธงสามชายอันเป็นธงชัยประจำกองทัพสมัยโบราณ
จังหวัดนครพนมธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นสองแถบตามแนวนอน แถบบนสีแดง แถบล่างสีดำ กลางธงมีตราประจำจังหวัดนครพนม เป็นรูปพระธาตุพนมไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[15]
จังหวัดนครราชสีมาธงพื้นสีแสด กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพลไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[16][17]
จังหวัดบึงกาฬธงประจำจังหวัดบึงกาฬเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยแถบสี 3 แถบตามสัดส่วนธง คือม่วง-ขาว-ม่วง มีตราจังหวัดอยู่ตรงกลางขนาดกว้าง 54 เซนติเมตร ยาว 84 เซนติเมตร แถบสีขาวตรงกลาง ขนาดความกว้าง 23 เซนติเมตร อยู่กึ่งกลางพื้นธง สีม่วงซึ่งเหลือเป็นแถบบนและแถบล่างความกว้างแถบละ 15.5 เซนติเมตร มีตราจังหวัดอยู่ตรงกลางขนาดเส้นรอบวง 77 เซนติเมตร[18]
จังหวัดบุรีรัมย์ธงพื้นสีม่วง-แสด แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้งไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[19]
จังหวัดมหาสารคามธงพื้นสีเหลือง กลางมีแถบสีน้ำตาลพาดผ่าน ภายในแถบนั้นมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปทุ่งนาและต้นรังไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[20]
จังหวัดมุกดาหารธงพื้นสีน้ำเงินหม่น ตรงกลางเป็นรูปปราสาทสองนางสถิต ประดิษฐานแก้วมุกดาหารอันเป็นตราประจำจังหวัดไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[21]
จังหวัดยโสธรธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2แถบ แบ่งครึ่งตามแนวนอน แถบบนสีชมพู แถบล่างสีฟ้า กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดยโสธร เป็นรูปพระธาตุอานนท์เปล่งรัศมี ประดิษฐานเหนือดอกบัวบาน มีสิงห์ยืนขนาบสองข้างไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[22][23]
จังหวัดร้อยเอ็ดธงพื้นสีเหลือง ตรงกลางธงมีตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นตราวงกลม ภายในดวงตราบรรจุภาพศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัยไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[24]
จังหวัดเลยธงพื้นสีฟ้า ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า มีตราประจำจังหวัดเลยเป็นรูปพระธาตุศรีสองรักอยู่ในวงกลมบนพื้นผ้าทั้งสองด้านไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[25]
จังหวัดศรีสะเกษธงพื้นสีแสดและสีขาว แบ่งครึ่งตามแนวนอน มีตรารูปปรางค์กู่ มีดอกลำดวน และใบลำดวน 6 ใบรองรับอยู่เบื้องล่างไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[26][27]
จังหวัดสกลนครธงพื้นสีน้ำเงินและสีเหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอน มีรูปพระธาตุเชิงชุม หน้าหนองหานหลวงและดอนสวรรค์ เบื้องล่างของตราในแถบสีเหลืองมีข้อความ "จังหวัดสกลนคร" สีน้ำเงิน
จังหวัดสุรินทร์ธงพื้นสีแดง-เหลือง-เขียว แบ่งตามแนวนอน กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดมีรูปพระอินทร์ประทับบนแท่นศีรษะช้างเอราวัณ หน้าปราสาทหินศีขรภูมิไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[28][29]
จังหวัดหนองคายธงพื้นสีดำ - แดง - ดำ แบ่งตามแนวนอนเท่ากันทุกแถบ กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปกอไผ่ริมหนองน้ำ
จังหวัดหนองบัวลำภูธงพื้นสีขาว กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาล เบื้องหลังเป็นหนองบัวลำภู เบื้องล่างของตรานั้นมีรูปแถบผ้าขมวดปมที่ตอนต้นและตอนปลาย ภายในมีข้อความ "จังหวัดหนองบัวลำภู"ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[30]
จังหวัดอุดรธานีธงพี้นสีแสด กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ เทวดาผู้รักษาทิศเหนือ
จังหวัดอุบลราชธานีธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงมี 2 แถบแบ่งครึ่งตามแนวนอน ด้านบนของธงมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู ด้านล่างมีอักษรสีขาวคำว่า "อุบลราชธานี" ปักอยู่บนพื้นสีเขียวไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[31]
จังหวัดอำนาจเจริญธงพื้นสีม่วง ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดมีรูปพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด

ภาคกลาง

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดงไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[32][33]
จังหวัดชัยนาทเป็นรูปตราประจำจังหวัดบนพื้นสีบานเย็น ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[34]
จังหวัดนครนายกธงพื้นสีเขียว กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดมีรูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง มีแถบแพรสีเหลือง มีข้อความว่า "นครนายก"ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[35]
จังหวัดนครปฐมธงพื้นสีน้ำเงิน กลางธงมีรูปพระปฐมเจดีย์ ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องล่างมีข้อความ "นครปฐม" สีขาวไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[36]
จังหวัดนครสวรรค์ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า กลางธงมีภาพวิมาน 3 ยอด ซึ่งเป็นตราประจำจังหวัดนครสวรรค์ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง

ธงประจำจังหวัดนครสวรรค์ แบบที่ 2 ซึ่งมีปรากฏในหนังสือ"วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครสวรรค์"[37]

[38]
จังหวัดนนทบุรีธงสีม่วงอ่อน - ฟ้า แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปหม้อน้ำดินเผาลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีชื่อเสียงมาช้านานไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
จังหวัดปทุมธานีธงพื้นสีน้ำเงิน-ขาว แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปบัวหลวงและช่อรวงข้าวชูช่อเหนือน้ำ
  • สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
  • สีขาว หมายถึง ศาสนา
  • ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว

ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่คณะที่มีความรักและความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่ง ของชาติไทย ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

กว้าง 38 นิ้ว ยาว 54 นิ้ว ดวงตราประจำจังหวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 นิ้ว[39]
จังหวัดพระนครศรีอยุธยารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งออกเป็น 3 แถบเท่า ๆ กัน มี 2 สี โดยมีสีฟ้าอยู่ตรงกลางขนาบด้วยสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีประจำภาค 1 ทั้งสองข้าง กลางธงแถบสีฟ้ามีตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นรูปปราสาทสังข์ทักษิณาวัตรใต้ต้นหมัน ใต้รูปปราสาทมีคำว่า “อยุธยา” คันธงมีแถบสีเหลืองและสีฟ้า 2 แถบไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[40]
จังหวัดพิจิตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็น 5 แถบ ใช้สีเขียวเข้ม 3 แถบ สลับด้วย สีขาว 2 แถบงพื้นสีเขียวสลับขาว สีเขียวมี 3 แถบ สีขาว 2 แถบ กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดพิจิตรไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[41]
จังหวัดพิษณุโลกธงพื้นสีม่วง กลางธงมีรูปดวงตราประจำจังหวัดพิษณุโลก เป็นรูปพระพุทธชินราชประดิษฐานภายในกรอบวงกลมประดับลวดลายไทยไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[42]
จังหวัดเพชรบูรณ์พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้างประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วยเครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาวน้ำมันก๊าด มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบสีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำจังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. เครื่องหมายประจำจังหวัดที่ประดิษฐานอยู่ตรงกลางผืนธงมีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลาง 66 ซ.ม.[43][44]
จังหวัดลพบุรีธงพื้นสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระนารายณ์สี่กร ประทับยืนหน้าพระปรางค์สามยอดไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
จังหวัดสมุทรปราการธงพื้นสีฟ้า ตรงกลางมีภาพตราพระสมุทรเจดีย์ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
จังหวัดสมุทรสงครามธงพื้นสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน แบ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปกลองลอยน้ำ ขนาบข้างด้วยต้นมะพร้าวล้อมรอบ เหนือรูปกลองเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
จังหวัดสมุทรสาครธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งเป็นสามแถบตามแนวนอน แถบบนและแถบล่างเป็นแถบสีชมพู แถบกลางเป็นแถบสีฟ้าน้ำทะเล มีความกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีชมพู ภายในแถบสีฟ้าน้ำทะเลมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เป็นภาพเรือสำเภาลอยลำในแม่น้ำท่าจีนไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[45][46]
จังหวัดสระบุรีธงพื้นสีแดง-ขาว-แดง แบ่งตามแนวนอนเท่าๆ กัน กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดรูปมณฑปพระพุทธบาท ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[47]
จังหวัดสิงห์บุรีธงพื้นสีแดงขนาดมาตรฐานธงชาติไทย (กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน) กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสิงห์บุรี เป็นรูปโครงร่าง 11 วีรชนค่ายบางระจันสีดำ อยู่บนพื้นสีแดงภายในโล่ (เครื่องป้องกันอาวุธ) ชนิดกลม ขอบโล่ถัดจากพื้นสีแดง มีวงกลมสีขาว สีน้ำเงิน และสีแดง มีขนาดและสัดส่วนเช่นเดียวกับพื้นแถบธงชาติไทยออกไปตามลำดับ ใต้รูปโครงร่างวีรชนมีข้อความจังหวัดสิงห์บุรี เป็นอักษรสีดำโค้งไปตามส่วนล่างของขอบโล่ โดยตัดวงกลมสีแดงวงนอกสุดออกเพื่อความกลมกลืน[48]
จังหวัดสุโขทัยเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสี 3 สี แถบแดงอยู่เบื้องบน แถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง และแถบเขียวอยู่เบื้องล่าง พื้นธงมุมบนด้านใกล้คันธง มีภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่น มนังศิลาบาตร และมีคำว่า จังหวัดสุโขทัย อยู่เบื้องล่าง ใต้ฐานยอดคันธงชิดกับมุมบนของธงด้านเสามีแถบสีแดง สีเหลือง สีเขียว ห้อยชายมายังชายธงเบื้องล่าง
  • สีแดง หมายถึง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทิศเหนือจรดเมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทิศตะวันออกแผ่พระราชอาณาเขตออกไปจนถึงแม่น้ำโขง ต่อแดนเวียงจันทน์และเวียงคำ ทิศใต้ตลอดถึงแหลมมลายู นับว่าดินแดนของราชอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นแผ่ขยายกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น
  • สีเหลือง หมายถึง พระพุทธศาสนา ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางรากฐานทางพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ให้เป็นปึกแผ่น ทรงนิมนต์พระสังฆราชจากนครศรีธรรมราช มาเผยแผ่ธรรมะให้แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
  • สีเขียว หมายถึง การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัย ประชาชนดำรงชีพอยู่ด้วยความเป็นสุข พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[49][50]
จังหวัดสุพรรณบุรีธงพื้นสีน้ำเงิน-แสด-น้ำเงิน แบ่งตามแนวนอน แถบสีแสดนั้นกว้างเป็น 2 เท่าของแถบน้ำเงิน ตรงกลางมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรูปการกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งอาณาจักรหงสาวดีไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[51]
จังหวัดอ่างทองเป็นธง 2 สี ด้านบนสีเหลือง ด้านล่างสีเขียว มีตราประจำจังหวัดอ่างทองอยู่ตรงกลางไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[52][53]
จังหวัดอุทัยธานีธงรูปสี่เหลี่ยม แบ่งเป็นแถบสีตามแนวนอนเท่ากัน 2 สี คือริ้วธงส่วนบนเป็นสีเหลือง หมายถึง สีประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ คือ พระมหากษัตริย์ ริ้วธงส่วนล่างเป็นสีเขียว หมายถึง สีประจำพระบรมราชสมภพ แห่งรัชกาลที่ 1 คือ วันพุธ ตรงกลางผืนธง เป็นตราประจำจังหวัดอุทัยธานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 120X180 ซม.[54][55]

ภาคตะวันออก

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
จังหวัดจันทบุรีธงพื้นสีแดง กลางธงเป็นภาพดวงตราประจำจังหวัดจันทบุรี ด้านล่างของดวงตรงมีข้อความ "จังหวัดจันทบุรี"ธงประจำจังหวัดจันทบุรีในปัจจุบันไม่ปรากฏข้อความไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง แต่ปรากฏหลักฐานว่าเดิมจังหวัดจันทบุรีใช้ภาพธงประจำจังหวัดอีกแบบหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร

เดิมจังหวัดจันทบุรีใช้ภาพธงประจำจังหวัดอีกแบบหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร ผืนธงสีแดง มุมด้านซ้ายมือของผืนธงประกอบด้วยดวงตราประจำจังหวัด อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสพื้นสีน้ำเงิน เป็นรูปกระต่ายในดวงจันทร์ เปล่งแสงเป็นประกาย
[56][57]

[58]
จังหวัดฉะเชิงเทราธงพื้นสีแดงเลือดนก กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่

ในเว็บไซต์สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ระบุธงประจำจังหวัดฉะเชิงเทราไว้อีกแบบหนึ่งว่า"สีแดงเลือดนก คือ ความเสียสละ ความสามัคคี จากการต่อสู้และได้มาซึ่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต่อสู้ชนะข้าศึกทั้งทางบกและทางน้ำ สีเหลือง หมายถึงสีประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ศาลากลางน้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้น ความร่มเย็น และองค์หลวงพ่อพระพุทธโสธรที่ล่องมาทางแม่น้ำบางปะกง"[59]

[60]
จังหวัดชลบุรีธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดงเข้ม-เหลือง-แดงเข้ม แบ่งตามแนวนอน ตรงกลางเป็นรูปเขาสามมุขและทะเลไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[61][62][63]
จังหวัดตราดธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งแถบสองสีตราแนวนอน ครึ่งบนสีน้ำเงิน ครึ่งล่างสีแดง กลางธงเป็นภาพดวงตราประจำจังหวัดตราดไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[64][65]
จังหวัดปราจีนบุรีธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะพื้นธง ตอนต้นมีพื้นสีแดง ซึ่งกำหนดเป็นสีประจำภาค มีรูปต้นโพธิ์อยู่ในกรอบวงกลมซึ่งเป็นตราประจำจังหวัดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 2.25 เมตร พื้นสีแดงตอนต้นผืนธงกว้างยาวด้านละ 1.50 เมตร ตราประจำจังหวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 85 เซนติเมตร[66][67]
จังหวัดระยองธงพื้นสีแดง-เหลือง-น้ำเงิน แบ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดระยอง เป็นรูปพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบนเกาะเสม็ดไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[68]
จังหวัดสระแก้วธงพื้นสีเหลือง-เขียว แบ่งครึ่งตามแนวนอนตรงกลางมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระพุทธรูปปางสรงสรีระ ประทับยืนบนดอกบัว ด้านหลังเป็นภาพพระอาทิตย์ยามรุ่ง ตอนกลางเป็นภาพปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ภาคตะวันตก

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
จังหวัดกาญจนบุรีพื้นธงเป็นสีฟ้า ตรงกลางเป็นสีแสดและมีตราจังหวัดอยู่ตรงกลางไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[69]
จังหวัดตากธงพื้นสีม่วงสลับเหลือง 7 แถบ เป็นสีม่วง 4 แถบ สีเหลือง 3 แถบ ที่ด้านติดคันธงทำเป็นช่องสามเหลี่ยมพื้นสีน้ำเงิน บรรจุดวงตราประจำจังหวัดตาก เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้างไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[70][71]
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง กลางแถบสีเหลืองภาพดวงตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นรูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ โดยมีภาพเกาะหลักอยู่เบื้องหลังไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[72]
จังหวัดเพชรบุรีธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีน้ำเงิน-เหลือง-น้ำเงิน กลางแถบสีเหลืองภาพดวงตราประจำจังหวัดเพชรบุรี เป็นรูปทุ่งนา ต้นตาลโตนด และพระนครคีรี (เขาวัง) บรรจุอยู่ในกรอบวงกลมไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[73][74]
จังหวัดราชบุรีธงพื้นสีน้ำเงิน กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดราชบุรี เป็นรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 ชนิด คือฉลองพระบาทเชิงงอนและพระแสงขรรค์ชัยศรีไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[75]

ภาคใต้

ภาพธงเขตการปกครองลักษณะและความหมายสัดส่วนหมายเหตุอ้างอิง
จังหวัดกระบี่ธงพื้นสีเหลือง ด้านบนมุมซ้ายของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ภายในรูปสี่เหลี่ยมสีแดงมีรูปกระบี่สีขาวสองเล่มไขว้กัน ใต้รูปกระบี่ไขว้มีอักษรสีขาวเป็นข้อความ "จังหวัดกระบี่"ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[76]
จังหวัดชุมพรธงพื้นสีน้ำเงิน กลางมีภาพตราประจำจังหวัด เป็นรูปเทวสตรียืนประทานพรหน้าค่าย มีต้นมะเดื่อขนาบอยู่ 2 ข้างไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[77][78]
จังหวัดตรังธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีฟ้า-ขาว-ฟ้า ตามแนวนอน แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดเป็นรูปกระโจมไฟ ท่าเรือ และลูกคลื่นในท้องทะเลไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[79][80]
จังหวัดนครศรีธรรมราชธงสีม่วง-เหลืองแบ่งครึ่งตามแนวนอน ตรงกลางผืนมีภาพวงตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารล้อมรอปด้วยตราสิบสองนักษัตรไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[81]
จังหวัดนราธิวาสพื้นธงตอนต้นเป็นสีเหลี่ยมจตุรัสสีเหลือง ภายในแถบสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเหลืองเป็นรูปเรือกอและกางใบแล่นรับลมเต็มที่ ภายในใบเรือเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องคชาภรณ์ รูปช้างนั้นหมายถึงพระศรีนรารัฐราชกิริณีฯช้างสำคัญซึ่งจังหวัดนราธิวาสได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อ พ.ศ. 2520 ตอนปลายธงที่เหลือ เป็นแถบสีแดงสลับขาวในแนวนอน 7 แถบ สีแดง 4 แถบ สีขาว 3 แถบ
จังหวัดปัตตานีธงพื้นสีเหลือง-เขียว แบ่งครึ่งตามแนวนอน กลางธงเป็นรูปปืนใหญ่พญาตานีไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[82][83]
จังหวัดพังงาพื้นธงสีน้ำเงิน-เหลือง-ชมพู แบ่งตามแนวตั้ง ตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดเป็นรูปเรือขุดเหมือง เขารูปช้าง และเกาะตาปู[84]
จังหวัดพัทลุงธงพื้นสีเหลือง-ม่วง-เหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอนตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดเป็นรูปเขาอกทะลุ[85]
จังหวัดภูเก็ตธงประจำจังหวัดภูเก็ตทำด้วยผ้าสีฟ้ามีขอบสีขาว ตรงกลางปักภาพวาดรูปท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ด้านหลัง เป็นรูปภูเขาอยู่ในวงกลมไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[86]
จังหวัดยะลาธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งเป็นแถบสีตามแนวนอนสองแถบ แถบบนสีเขียว แถบล่างสีขาว กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดยะลา เป็นรูปคนทำเหมืองดีบุกไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[87]
จังหวัดระนองธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนต้นธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส พื้นสีเขียว กลางธงมีรูปปราสาทตั้งอยู่บนเขานิเวศน์คีรี รองรับด้วยแถบโค้งบรรจุข้อความ "จังหวัดระนอง" ภายในปราสาทปราสาทประดิษฐานรูปเลข ๕ ไทย ตอนปลายของธงมีความกว้างประมาณกึ่งหนึ่งของแถบสีเขียว แบ่งเป็นแถบย่อยตามแนวนอน 7 แถบ แบ่งเป็นแถบสีเหลือง 4 แถบ แถบสีแสด 3 แถบ[88]
จังหวัดสตูลธงพื้นสีเขียว กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสตูล เป็นรูปพระสมุทรเทวาประทับนั่งบนแท่นหิน เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อัสดงไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง[89]
จังหวัดสงขลาธงพื้นสีเขียว ตรงกลางเป็นรูปสังข์วางอยู่บนพานแว่นฟ้า เบื้องล่างมีข้อความว่า "จังหวัดสงขลา" สีขาว โอบอยู่เบื้องล่าง[90]
จังหวัดสุราษฎร์ธานีธงพื้นสีส้ม - เหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอน ที่กลางผืนธงประดับด้วยตราประจำจังหวัดรูปพระเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ใต้ฐานพระเจดีย์เป็นแถบข้อความสีเหลืองระบุชื่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี[91]

ใกล้เคียง

ธงประจำพระองค์ ธงประมวลสากล ธงประจำหมู่เกาะออร์คนีย์ ธงประธานาธิบดียูเครน ธงประจำเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ธงประจำรัฐฮาวาย ธงประจำเขตการปกครองของโปแลนด์ ธงประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส ธงประจำจังหวัดของไทย ธงประธานาธิบดีฟิลิปปินส์