การออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ ของ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561 เห็นชอบให้ ธพว.ออกจากแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรหรือแผนฟื้นฟู เนื่องจากว่าตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาองค์กรดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 

  • ปรับกระบวนการอำนวยสินเชื่อ วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยมีการ Check & Balance  และเพิ่มความคล่องตัวในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อการปล่อยสินเชื่อใหม่คุณภาพดีได้มากขึ้น โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2560 มียอดปล่อยสินเชื่อรวม 98,757 ล้านบาท และยอดเบิกจ่ายสินเชื่อใหม่วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท รวม 93,995 ล้านบาท ซึ่งในปี 2560 สามารถปล่อยสินเชื่อทั้งหมดได้จำนวนทั้งสิ้น 43,269 ล้านบาท 
  • สร้างกระบวนการติดตามลูกหนี้ (Loan Monitoring) โดยจัดตั้งหน่วยงานควบคุมคุณภาพสินเชื่อ ส่งผลให้หนี้ปล่อยใหม่ในปี 2560 ตกชั้นเพียงร้อยละ 0.21 เท่านั้น 
  • บริหารจัดการหนี้ NPL ตามแผนฟื้นฟูอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสินเชื่อใหม่ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2560 ลดลงต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 3.32 , 1.32 และ 0.21 ตามลำดับ   
  • ดำเนินการตามพันธกิจในการสนับสนุนนโยบายรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการด้านสินเชื่อ อาทิ สินเชื่อ Policy Loan  สินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว สินเชื่อ SMEs Transformation  และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เป็นต้น
  • ควบคุมค่าใช้จ่ายและต้นทุนเงิน ส่งผลให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นและอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ  โดยในปี 2560 มีกำไรก่อนตั้งสำรองหนี้เพื่อความมั่นคง กว่า  1,600 ล้านบาท และบริหารจัดการต้นทุนการเงินอยู่ที่ร้อยละ 1.68 ดีกว่าที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การจัดอับดับ Credit Rating โดย Fitch Ratings อยู่ในอันดับที่ AAA (tha)
  • มุ่งเสริมสร้างจริยธรรม และธรรมาภิบาล ปลูกฝังค่านิยมองค์กรคุณธรรม  พร้อมเสริมสร้างระบบการตรวจสอบให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้ได้รับการประเมินองค์กร ปี 2559 เท่ากับ 5 คะแนนเต็ม  (สำรวจโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

ใกล้เคียง

ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยเครดิต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร