การดำเนินกิจการ ของ ธนาคารศรีนคร

แรกเริ่มดำเนินการ ธนาคารศรีนคร เป็นตึกแถว 4 ชั้น 4 คูหา มีพนักงาน 58 คน มีบริการเงินฝาก 2 ประเภท คือ ประเภทกระแสรายวัน และประเภทฝากประจำ มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

นับแต่เริ่มดำเนินกิจการมา ธนาคารศรีนคร กิจการของธนาคารรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ธนาคารจึงได้ดำเนินการขยายกิจการสาขา โดยเปิดสาขาสามแยกขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น ก็ได้เปิดสาขาขึ้นอีก 3 แห่ง คือ สาขาบางลำภู สาขาบางรัก และสาขาประตูน้ำ ในปีต่อ ๆ มาก็ได้เปิดเพิ่มขึ้นอีกหลายสาขาทั่วกรุงเทพมหานคร และในปี พ.ศ 2512 ธนาคารก็ได้ขยายกิจการสาขาไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดยได้เริ่มเปิดสาขาหาดใหญ่ เป็นสาขาแรกในส่วนภูมิภาค และได้ขยายกิจการสาขาตามจังหวัดต่าง ๆ อีกมากมายหลายแห่ง จำนวนกว่า 177 สาขาทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. 2513 คณะกรรมการฯ ได้เริ่มโครงการขยายกิจการธนาคารให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยได้จัดซื้อที่ดินบริเวณสวนมะลิ จำนวน 3 ไร่ เพื่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ และได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ต่อมา ธนาคารก็ได้กระทำพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ อาคารเลขที่ 2 ถนนเฉลิมเขตร์ 4 สวนมะลิ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) เป็นองค์ประธานในพิธี สำนักงานใหญ่ของธนาคารเป็นอาคารสูง 16 ชั้น

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ธนาคารศรีนคร ได้ยุบรวมกิจการเข้ากับธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันเป็นธนาคารธนชาต)[1] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2545[2]

ใกล้เคียง

ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยเครดิต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร