การทำงาน ของ ธรรมนูญ_ฤทธิมณี

งานราชการ

ธรรมนูญ ฤทธิมณี รับราชการเป็นอาจารย์สังกัดกรมอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก จนได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรม ในปี พ.ศ. 2517 เขาจึงได้ย้ายกลับมาปฏิบัติราชการที่กรมอาชีวศึกษา กระทั่งในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาขึ้น รศ.ธรรมนูญ จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัย และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2531 สืบต่อจากศาสตราจารย์ อนันต์ กรุแก้ว[2] และในปีเดียวกันนี้ ได้มีการยกฐานะวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นอธิการบดีอีกวาระหนึ่ง[3] นับเป็นอธิการบดีคนแรกในนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ธรรมนูญ ฤทธิมณี เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2538 ในตำแหน่งสุดท้ายคือ รองศาสตราจารย์ ระดับ 10[4] และหมดวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดี ในปี พ.ศ. 2539

งานการเมือง

หลังเกษียณอายุราชการแล้ว รศ.ธรรมนูญ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ลำดับที่ 86 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ใกล้เคียง

ธรรมนัส พรหมเผ่า ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931) ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญ เทียนเงิน ธรรมนูญ 08 ธรรมนูญ ทัศโน ธรรมนูญ ฤทธิมณี ธรรมนูญสภายุโรป ธรรมนูญแคลเร็นดอน ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502