นิยาม ของ ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต

นิยามของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตนั้นได้รับการทดสอบท้าทายจากหลายฝ่ายในทุกอุดมการณ์และแนวคิดทางการเมือง หนึ่งในการถกเถียงหลักนั้นครุ่นคิดเกี่ยวกับอำนาจและการมีส่วนร่วมของผู้เล่น เช่น รัฐบาลแห่งชาติ องค์กรธุรกิจ และประชาสังคม กับการมีบทบาทในการอภิบาลอินเทอร์เน็ต

คณะทำงานที่ตั้งขึ้นโดยการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society - WSIS) ซึ่งริเริ่มโดยสหประชาชาติ ได้เสนอนิยามของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตดังต่อไปนี้ ในรายงานเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005:

ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตคือการพัฒนาและการประยุกต์โดยรัฐบาล ภาคเอกชน และประชาสังคม ในบทบาทของตน ด้วยหลักการ ปทัสถาน กฎเกณฑ์ กระบวนการตัดสินใจ และโครงการที่มีร่วมกัน เพื่อกำหนดรูปแบบทิศทางของวิวัฒนาการและการใช้งานอินเทอร์เน็ต[2]

อาจารย์กฎหมาย Yochai Benkler ได้พัฒนาการวางแนวคิดของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ "ชั้น" (layers) ของการอภิบาล 3 ชั้น: ชั้น "โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ" ("physical infrastructure" layer) ซึ่งสารสนเทศใช้ในการเดินทาง; ชั้น "โปรแกรม" หรือ "ตรรกะ" ("code" or "logical" layer) ซึ่งควบคุมโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว; และชั้น "เนื้อหา" ("content" layer) ซึ่งบรรจุสารสนเทศที่ถูกส่งไปในเครือข่าย[3]