ธันเดอร์บอลล์_007
ธันเดอร์บอลล์_007

ธันเดอร์บอลล์_007

ธันเดอร์บอลล์ 007 (อังกฤษ: Thunderball) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับฉายเมื่อปี ค.ศ. 1965 เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สี่ใน ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ แสดงนำโดย ฌอน คอนเนอรี เป็น เจมส์ บอนด์ สายลับเอ็มไอ6 ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของเอียน เฟลมมิง ซึ่งนำเค้าโครงมาจากเนื้อเรื่องต้นฉบับโดย เควิน แมกคลอรี, แจ็ก วิตทิงแฮมและเฟลมมิง กำกับโดย เทอเรนซ์ ยัง ซึ่งเป็นการกำกับภาพยนตร์บอนด์เรื่องที่สามและเรื่องสุดท้ายของเขาและเขียนบทโดย ริชาร์ด เมบอมและจอห์น ฮอปกินส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ควรจะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ถ้าไม่ใช่เพราะมีข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์[1]ภาพยนตร์เล่าเรื่องภารกิจของบอนด์ที่ต้องตามหาระเบิดปรมาณูเนโทจำนวนสองลูก ซึ่งถูกขโมยไปโดยสเปกเตอร์ โดยเรียกค่าไถ่มูลค่า 100 ล้านปอนด์ เพื่อแลกกับการไม่ทำลายเมืองใหญ่ที่ไม่ระบุว่าที่ไหนทั้งในสหราชอาณาจักรหรือสหรัฐ (ต่อมาเปิดเผยว่าเป็น ไมแอมี) การค้นหาของบอนด์พาเขาไป บาฮามาส ซึ่งเขาได้เผชิญหน้า เอมิลิโอ ลาร์โก นักเล่นไพ่, สวมที่ปิดตาและเป็นหมายเลขสองของสเปกเตอร์ บอนด์ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ซีไอเอ เฟลิกซ์ ไลเทอร์ และผู้หญิงของลาร์โก โดมิโน เดอวัล ในที่สุดก็นำไปสู่การต่อสู้ใต้น้ำระหว่างบอนด์กับลูกสมุนของลาร์โก ภาพยนตร์มีการสร้างที่ซับซ้อนด้วยมีกองถ่ายถึงสี่กองและประมาณหนึ่งในสี่ของภาพยนตร์นั้นเป็นฉากใต้น้ำ[2] ธันเดอร์บอลล์ 007 เป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยใช้อัตราส่วนจอกว้างของพานาวิชันและเป็นเรื่องแรกที่ความยาวเกินสองชั่วโมงธันเดอร์บอลล์ 007 มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางกฎหมายในปี ค.ศ. 1961 เมื่อเควิน แมกคลอรีและแจ็ก วิตทิงแฮม อดีตผู้ร่วมงานของเอียน เฟลมมิง ฟ้องร้องเขาหลังการตีพิมพ์ของนวนิยายไม่นานนัก อ้างว่าเขานำเค้าโครงมาจากบทภาพยนตร์ที่ทั้งสามคนร่วมกันเขียนให้กับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ซึ่งไม่ได้สร้าง[3] ศาลตัดสินคดีนี้อนุญาตให้แมกคลอรีรักษาสิทธิ์ในการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์จากเนื้อเรื่องของนวนิยาย, โครงเรื่องและตัวละครและแมกคลอรีมีชื่อเป็นผู้อำนวยการสร้างคนเดียวในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้อำนวยการสร้างของภาพยนตร์ชุดบอนด์ อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลีและแฮรรี ซอลต์ซแมน กลัวภาพยนตร์คู่แข่งของแมกคลอรีจะอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของพวกเขา บรอคโคลีและซอลต์ซแมนจึงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารแทน[4]ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จโดยทำเงินทั้งหมด 141.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ทำเงินมากกว่าภาพยนตร์บอนด์สามเรื่องก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ. 1966 จอห์น สเตียร์ส ชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม[5] และ เคน แอดัม ผู้ออกแบบงานสร้าง ยังได้เข้าชิงรางวัลแบฟตา[6] ธันเดอร์บอลล์ 007 เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในด้านการเงินมากที่สุดของภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ในอเมริกาเหนือ เมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว[7] นักวิจารณ์และผู้ชมบางคนชื่นชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ในขณะที่คนอื่น ๆ พบว่าฉากโลดโผนในน้ำนั้นซ้ำซากและความยาวของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยาวเกินไป ในปี ค.ศ. 1983 วอร์เนอร์บราเธอส์ ฉายภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องที่สอง ใช้ชื่อว่า พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ มีแมกคลอรีเป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร

ธันเดอร์บอลล์_007

ทุนสร้าง 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตัดต่อ ปีเตอร์ ฮันต์
เออร์เนสต์ ฮอสเลอร์
ประเทศ สหราชอาณาจักร
สหรัฐ
บทภาพยนตร์ ริชาร์ด เมบอม
จอห์น ฮอปกินส์
วันฉาย 9 ธันวาคม ค.ศ. 1965 (1965-12-09) (โตเกียว, รอบปฐมทัศน์)
21 ธันวาคม 1965 (สหรัฐ)
29 ธันวาคม 1965 (สหราชอาณาจักร)
ความยาว 130 นาที
กำกับภาพ เท็ด มัวร์
ผู้จัดจำหน่าย ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์
อำนวยการสร้าง เควิน แมกคลอรี
บริษัทผู้สร้าง
นักแสดงนำ ฌอน คอนเนอรี
คลอดีน ออเกอร์
อะดอลโฟ เซลี
ลูเซียนา พอลูซี
ริก ฟาน นัตเตอร์
ดนตรีประกอบ จอห์น แบร์รี
รายได้ 141.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาษา อังกฤษ
กำกับ เทอเรนซ์ ยัง
เค้าโครงจาก บทภาพยนตร์โดย
แจ็ก วิตทิงแฮม
เนื้อเรื่องโดย
เควิน แมกคลอรี
แจ็ก วิตทิงแฮม
เอียน เฟลมมิง

ใกล้เคียง

ธันเดอร์โดม ธันเดอร์โดมสเตเดียม ธันเดอร์โบลท์ส (หนังสือการ์ตูน) ธันเดอร์โบลต์ส (ภาพยนตร์) ธันเดอร์บอลล์ 007 ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม) ธันเดอร์โบลต์ แพตเตอร์สัน ธันเดอร์ (เพลงอิแมจินดรากอนส์) ธันเดอร์บอลล์ (นวนิยาย) ธันเดอร์เบิร์ด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธันเดอร์บอลล์_007 http://www.imdb.com/title/tt0059800/ http://archive.wikiwix.com/cache/20150611035544/ht... http://www.universalexports.net/00Sony.shtml http://www.bafta.org/awards/film/nominations/?year... https://www.boxofficemojo.com/franchises/chart/?id... https://articles.latimes.com/1989-07-09/entertainm... https://variety.com/2013/biz/news/james-bond-right... https://web.archive.org/web/20071213202607/http://... https://web.archive.org/web/20130425021541/http://... https://web.archive.org/web/20180213195528/https:/...