นกกระสาปากพลั่ว
นกกระสาปากพลั่ว

นกกระสาปากพลั่ว

นกกระสาปากพลั่ว[3] (อังกฤษ: Shoebill, Whale-headed stork[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaeniceps rex) เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes)[2] แต่จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในวงศ์ Balaenicipitidae[2]นกกระสาปากพลั่วจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีส่วนสูงตั้งแต่ 115-150 เซนติเมตร โดยประมาณ หากกางปีกจะกว้าง 230-260 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 4-7 กิโลกรัม ขณะที่เป็นวัยรุ่นหรือตัวเต็มวัยจะมีสีเทา ส่วนนกขนาดเล็กจะมีสีออกน้ำตาลกว่า อาศัยอยู่บริเวณบึงใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก แถบประเทศซูดานและแซมเบียนกกระสาปากพลั่ว มีจุดเด่น คือ จะงอยปากที่หนาและรูปทรงประหลาดไม่เหมือนนกชนิดอื่น เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงวิทยาศาสตร์ จากการมีการอนุกรมวิธาน ในช่วงศตวรรษที่ 19 จากการที่หนังของนกชนิดนี้ถูกนำมาขายในยุโรป อย่างไรก็ดี นกกระสาปากพลั่วเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่สมัยโบราณในอารยธรรมอียิปต์โบราณที่มีการเขียนภาพถึง และอารยธรรมอาหรับที่เรียกขานว่า "abu markub" ที่มีความหมายว่า "ผู้มากับรองเท้า" ซึ่งก็มาจากจะงอยปากมีลักษณะเหมือนรองเท้านั้นเอง [4]นกกระสาปากพลั่ว หาอาหารในบึงน้ำหรือบ่อโคลน อาหารได้แก่ ปลา, กบ กระทั่งลูกจระเข้ หรือลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไร้ทางสู้ ทำรังบนพื้นดิน ออกไข่ครั้งละ 2 ฟอง [5]ปัจจุบัน เป็นนกที่ถูกจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์จากบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) [1]จากความที่เป็นนกขนาดใหญ่ หายาก และหากินใกล้แหล่งน้ำ นกกระสาปากพลั่วคาดว่าเป็นนกที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น "คองกามาโต" คือ สัตว์ประหลาดที่คล้ายนกขนาดใหญ่ ที่โจมตีใส่มนุษย์ในบึงน้ำแถบแอฟริกากลางนั่นเอง[6]