สถานะการอนุรักษ์ ของ นกนางแอ่นแม่น้ำ

กุสทัฟ ฮาร์ทเลาบ์ ผู้จัดจำแนกนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

มีรายงานการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิริธรในปี ค.ศ. 1972, 1977 และ 1980 และก็ไม่มีการพบเห็นอีกเลยจนปัจจุบัน[2] แม้จะมีรายงานว่าพบนกจากประเทศไทยในปี ค.ศ. 1986[12] และจากประเทศกัมพูชาในปี ค.ศ. 2004 แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน[17] สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง มีการประมาณจำนวนของนกชนิดนี้ว่าลดลงหรือจะลดลงถึง 80% ภายในสามรุ่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ IUCN จะไม่พิจารณาว่านกชนิดสูญพันธุ์จนกว่าได้ดำเนินการสำรวจเป้าหมายครอบคลุม[7] แม้มีการปกป้องด้วยกฎหมายภายใต้บัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES)[18] นกยังคงถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่นในฤดูหนาวของแต่ละปีเพื่อขายเป็นอาหารหรือเป็นนกปล่อยทำบุญในพุทธศาสนา และหลังจากการค้นพบ มีการดักจับนกได้ถึงเกือบ 120 ตัวเพื่อขายให้กับผู้อำนวยการสถานีประมงนครสวรรค์ และแน่นอนว่าไม่สามารถรักษาชีวิตของนกเหล่านั้นไว้ได้[14] อาจด้วยเพราะมีจำนวนประชากรเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆทำให้ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายนัก[2]

ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดโอกาสในการค้นพบคือมีการลดจำนวนลงอย่างมากของประชากรนกนางแอ่นในบึงบอระเพ็ดจากหนึ่งแสนตัวใน ราวปี ค.ศ. 1970 เหลือเพียง 8,000 ตัวที่นับได้ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1980–1981 แม้ว่าจะยังไม่แน่ใจ แต่เหตุการณ์นี้คือการแสดงถึงการลดลงหรือเปลี่ยนถิ่นเนื่องมาจากการถูกรบกวน[13] สาเหตุอื่นที่ทำให้นกชนิดนี้ลดจำนวนลงประกอบด้วย จากการรบกวนบริเวณตลิ่งทรายแม่น้ำ การสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การแก้ไขอุทกภัย การประมง การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยเพื่อการเกษตร[12] อย่างน้อยนกนางแอ่นก็ยังชอบจับคอนตามพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดมากกว่าตามไร่อ้อย แต่ก็ไม่ค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรในฝูงนกจับคอนเหล่านั้น[13] บึงบอระเพ็ดได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์เพื่อพยายามจะปกป้องนกชนิดนี้[12] แต่จากการสำรวจค้นหานกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่เหลือรอดซึ่งประกอบด้วยการสำรวจ ที่บึงบอระเพ็ดหลายครั้ง การสำรวจแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำวังในภาคเหนือของประเทศไทยปี ค.ศ. 1969 และการสำรวจของแม่น้ำในภาคเหนือของประเทศลาวในปี ค.ศ. 1996 กลับประสบความล้มเหลวในการค้นหานกชนิดนี้[12] มีการพบเห็นที่เป็นไปได้แต่ยังไม่มีการตรวจสอบว่าพบนกชนิดนี้ในปี ค.ศ. 2004[17]

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

ขนาดประชากรของนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 สามารถพบเห็นได้บ่อยในท้องถิ่นและพบเห็นนกอพยพจำนวนมากในประเทศกาบอง แต่ไม่เป็นที่ทราบมากนักถึงจำนวนประชากรในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และไม่เป็นที่ทราบความถึงสัมพันธ์ของการผสมพันธุ์วางไข่ของนกในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยคองโกกับการผสมพันธุ์วางไข่ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งของประเทศ กาบองและสาธารณรัฐคองโก มีการพบฝูงนกถึง 15,000 ตัวในปี ค.ศ. 1997 ซึ่งถ้ารวมนกจาบคาสีกุหลาบ (Merops malimbicus) ด้วยแล้วจะมีนกถึง 100,000 ตัว เนื่องจากไม่มีรายละเอียด นกชนิดนี้จึงถูกจัดสถานะการอนุรักษ์เป็นยังไม่มีข้อมูล (DD) โดย IUCN ในคริสต์ทศวรรษ 1950 นกแอ่นแม่น้ำแอฟริกาโดนจับและรับประทานจำนวนมากในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกโดยคนท้องถิ่น และการกระทำเช่นนี้อาจกำลังเพิ่มขึ้น แม้อาณานิคมการผสมพันธุ์วางไข่ของนกบริเวณตลิ่งทรายริมแม่น้ำมีแนวโน้มที่จะถูกน้ำท่วม[11] แต่ก็มีนกจำนวนหลายพันตัวมาผสมพันธุ์วางไข่บริเวณทุ่งหญ้าทางตะวันออกของเมืองแกมบา (Gamba) เมื่อปี ค.ศ. 2005[19]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกนางแอ่นแม่น้ำ http://ibc.lynxeds.com/species/african-river-marti... http://www.thaibirding.com/news/news_wermdoug.htm http://www.xs4all.nl/~sbpoley/scinames.htm http://www.archive.org/stream/ibis03brit#page/321/... http://www.birdlife.org/datazone/species/index.htm... http://www.birdlife.org/datazone/species/index.htm... http://www.cites.org/eng/app/e-appendices.pdf //doi.org/10.1007%2FBF02002444 //doi.org/10.1016%2Fj.ympev.2004.11.008 http://www.orientalbirdclub.org/publications/bullf...