นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ ของ นกปากกบยักษ์

นกปากกบยักษ์ (B. auritus) เป็นนกที่ไม่ค่อยเป็นรู้จัก หายากและหายากมากในแหล่งการแพร่กระจายพันธุ์ส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สามารถระบุจำนวนประชากรทั้งหมดได้ แต่คาดว่าประชากรนกมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างรวดเร็วควบคู่ไปกับการทำลายป่าและไฟป่าในที่ราบลุ่มตลอดช่วงกระจายพันธุ์ แต่นกปากกบยักษ์มีความสามารถในการปรับตัวอาศัยในป่าปลูกต่าง ๆ ได้พอควร สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้ประเมินสถานะการอนุรักษ์ของนกปากกบยักษ์ในระดับ "ใกล้ถูกคุกคาม" (NT)[10][5]

ในประเทศไทย

เป็นนกประจำถิ่นที่ถูกระบุว่าเป็นนกที่หายากมาก (extremely rare) และแนวโน้มที่ลดลงจากการทำลายป่าและไฟป่าในที่ราบลุ่ม แม้ว่าจะไม่รุนแรงเท่าสถานะการณ์บนเกาะบอร์เนียวและหมู่เกาะซุนดา[10] อาจพบได้ในป่าดิบในจังหวัดนครศรีธรรมราช และแนวป่ารอยต่อประเทศมาเลเซีย[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกปากกบยักษ์ //www.worldcat.org/oclc/4060180 https://books.google.com/books?id=gdDr_2z1MNwC&pg=... https://www.researchgate.net/publication/309461683... https://avibase.bsc-eoc.org/species.jsp?lang=EN&av... https://avibase.bsc-eoc.org/species.jsp?lang=EN&av... https://ebird.org/species/larfro1 https://www.inaturalist.org/taxa/19691-Batrachosto... https://www.iucnredlist.org/en https://www.worldcat.org/oclc/4060180 https://siamrath.co.th/n/49398