การจัดจำแนก ของ นกยูงไทย

ตามคำแนะนำของตัวแทนผู้ก่อตั้งสมาคมไก่ฟ้าโลกและนักปักษีวิทยา ฌ็อง เดอลากูร์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย:[3][8][9]

  • P. m. muticus (ชนิดย่อยที่ได้รับการตั้งชื่อตามสปีชีส์) – นกยูงชวา หรือ นกยูงใต้ พบในชวา มาเลเซียตะวันตกจากทางเหนือไปทางใต้จนถึงรัฐเกอดะฮ์
  • P. m. imperator – นกยูงอินโดจีน หรือ นกยูงเหนือ พบในพม่าจนถึงไทย ตอนใต้ของจีนและอินโดจีน
  • P. m. spicifer – นกยูงพม่า พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและบังคลาเทศ

ผู้แต่งบางคนเสนอให้ประชากรที่พบในยูนานแยกเป็นอีกชนิดย่อยหนึ่ง[10] ปัจจุบันไม่พบนกยูงไทยในสุมาตราและบอร์เนียวแล้ว และบันทึกการพบทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียก็เป็นบันทึกเมื่อนานมาแล้วปัจจุบันอาจสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่แล้วเช่นกัน[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกยูงไทย http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/3/2014-12-11/16/ http://birdbase.hokkaido-ies.go.jp/rdb/rdb_en/pavo... http://nlbif.eti.uva.nl/zma3d/detail.php?id=143&ty... http://www.arkive.org/species/GES/birds/Pavo_mutic... http://www.birdlife.org/datazone/species/index.htm... //doi.org/10.1016%2FS0006-3207(01)00182-3 http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/14... http://www.redlist.org/search/details.php?species=... http://www.zoothailand.org/index.php?option=com_k2... http://www.biology.hcmuns.edu.vn/store/elib/pub/IB...