การแพร่กระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา ของ นกเปลือกไม้

นกเปลือกไม้อาศัยในบริเวณตีนเขาไปจนถึงภูมิภาคภูเขาสูงและกึ่งหุบเขา ในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณที่ความสูง 1,300 เมตรขึ้นไป ซึ่งค่าเฉลี่ยช่วงความสูงต่ำกว่านกเปลือกไม้สิกขิม[11] เขตการแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตะวันตกสุดคือ ตอนใต้ของแม่น้ำพรหมบุตร ในช่วงรัฐอัสสัม รัฐมณีปุระ รัฐมิโซรัม นาคาแลนด์ ไปจนถึงมณฑลยูนนานของจีน ลาว ไทย และสุดทางตะวันออกในตอนใต้ของเวียดนาม[11]

นกเปลือกไม้มีขนาดช่วงกระจายพันธุ์ที่กว้าง ทำให้ไม่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable species - VU) แม้ว่าแนวโน้มจำนวนประชากรจะลดลง นกเปลือกไม้จึงได้รับการประเมินว่ามีความกังวลน้อยที่สุด[12]

ในประเทศไทย

พบไต่หากินในแนวตั้งตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง 1,300 เมตรขึ้นไป มีรายงานการพบบนเทือกเขาสูงในป่าตะวันตก จังหวัดตาก และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน[13][14] ดอยลางและดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่[15][16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกเปลือกไม้ http://www.lowernorthernbird.com/checklist.php?cat... http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/man... //doi.org/10.1111%2Fj.1474-919X.2006.00547.x //www.worldcat.org/issn/1474-919X https://dktnfe.com/web59/?p=1454 https://www.facebook.com/526281030859750/posts/146... https://www.thainationalparks.com/species/humes-tr... https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.... https://www.birdsofthailand.org/photo/1671 https://birdsoftheworld.org/bow/species/bnttre2/1....