การประดับของราชสำนัก ของ นพรัตน์

ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญอย่างเป็นทางการ ครั้งหนึ่งพระพุทธชินราชเคยมีนพรัตน์สังวาลย์ทองคำแท้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ไว้ประดับ [3] และยกย่องให้นพรัตนเป็นรัตนมงคลโบราณ ตามพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ บัญญัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับยศแห่งพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดวงตรามหานพรัตน สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (ฝ่ายหน้า)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)องค์ประกอบสายสะพายชั้นเดียวของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ฯ

  • มหานพรัตน์ ด้านหน้าเป็นดอกประจำยามประดับ 9 รัตน ใช้ห้อยกับแพรแถบ สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย (สำหรับบุรุษ) ส่วนสำหรับสตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย
  • ดารานพรัตน์ เป็นรูปดาราประดับ 9 รัตน เหมือนมหานพรัตน
  • แหวนนพรัตน์ ทำด้วยทองคำเนื้อสูงและฝังพลอยมงคล 9 ชนิด (การพระราชทานแหวนนพรัตน์มายกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเปลี่ยนเป็นการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แทน แต่ยังคงพระราชทานแก่พระบรมวงศ์ษานุวงศ์ระดับสูงอยู่) ใช้สวมใส่ในงานมงคลเท่านั้น ให้สวมที่น้วชี้มือขวา

และนพรัตนยังเป็นส่วนหนึ่งของนามกรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานนาม โดยทรงเปรียบเทียบเมืองหลวงของไทยนี้ดั่งเมืองในสรวงสวรรค์แห่งเทพ อันเป็นที่มาของรัตนชาติทั้ง 9 ประการว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" [5]

ซึ่งจากเอกสารในหอสมุดของสยามสมาคมฯระบุว่าครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้นำกลอนนพรัตน์มาแต่งท่วงทำนองใช้ร้องเป็นระบำนพรัตน์กล่าวคือ"เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองสวยสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ฯ"