บทบัญญัติบางประการ ของ นมาซวันศุกร์

นมาซนี้จำเป็นต้องทำเป็นหมู่คณะ ไม่สามารถทำโดยลำพังได้[4]  ่อย่างน้อยสุดต้องมีผู้เข้าร่วมนมาซวันศุกร์ 5 คน กล่าวคือ อิมามนำนมาซหนึ่งคนและมีผู้ตามอีกสี่คน[5]

เงื่อนไขต่างๆที่มีอยู่ในนมาซที่ทำเป็นหมู่คณะ ก็เป็นเงื่อนไขในนมาซวันศุกร์เช่นกัน[6]

ตามหลักการของชีอะฮ์แล้วไม่อนุญาตให้ทำนมาซวันศุกร์ซ้อนกับอีกสถานที่หนึ่งที่อยู่ใกล้กัน นั่นก็เพื่อว่าจะได้จัดนมาซวันศุกร์ได้อย่างยิ่งใหญ่ในพื้นที่หนึ่งๆ  เพราะหากนมาซวันศุกร์ซ้อนกันหลายๆที่ในพื้นที่เดียวกัน ก็จะเป็นการกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มเป็นก้อนและทำลายความเป็นเอกภาพและความยิ่งใหญ่ของมวลมุสลิม[7] ระยะห่างระหว่างสถานที่นมาซวันศุกร์แต่ละที่ต้องห่างกันอย่างน้อยหนึ่งฟัรสัค (ประมาณ 5.5 กิโลเมตร)  หากไม่เป็นไปในลักษณะนี้นมาซวันศุกร์ใดที่เริ่มช้ากว่า ให้ถือว่านมาซวันศุกร์นั้นเป็นโมฆะ[6]

แต่ตามหลักการของชาวซุนนีแล้วนมาซวันศุกร์สามารถทำได้ทุกเมืองและทุกมัสญิด และผู้ที่ได้รับการรับรองก็สามารถเป็นอิมามนำนมาซได้ ณ มัสญิดแห่งนั้น ชาวซุนนีเชื่อว่านมาซวันศุกร์เป็นข้อบังคับ (วาญิบ)  แต่มัรเญี้ยะอ์ส่วนใหญ่ของชาวชีอะฮ์เชื่อว่าการนมาซวันศุกร์เป็นการกระทำที่ชอบมุสตะฮับในยุคการเร้นกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.)  ซัยยิดมุฮัมม้ัดญะวาด ฆอรอวี ถือว่านมาซวันศุกร์เป็นวาญิบอัยนี กล่าวคือจำเป็นต้องนมาซวันศุกร์แทนนมาซซุฮ์ร และบทบัญญัตินี้ตรงตามพระบัญชาของอัลลอฮ์ ในซูเราะฮ์ญุมุอะฮ์  อีกทั้งเป็นซุนนะฮ์ที่แน่นอน และท่านยังถือว่านมาซอีดทั้งสอง (อีดฟิฏร์และอีดอัฎฮา) ก็เป็นนมาซที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) อีกด้วย[8][ต้องการอ้างอิง]

เป็นการกระทำที่ชอบ(มุสตะฮับ)ในนมาซวันศุกร์ ให้อ่านซูเราะฮ์ญุมุอะฮ์หลังจากอ่านซูเราะฮ์ฮัมด์ในรอกะอัตแรก ส่วนในรอกะอัตที่สองนั้นให้อ่านซูเราะฮ์มุนาฟิกูนหลังจากอ่านซูเราะฮ์ฮัมด์[9]

อิมามญุมอะฮ์

อิมามญุมอะฮ์ คือผู้ที่ทำหน้าที่นำนมาซวันศุกร์ โดยทั่วไปแล้วผู้บรรยายกับผู้นำนมาซวันศุกร์นั้นต้องเป็นคน ๆ เดียวกัน