นักกำหนดอาหาร

นักกำหนดอาหาร (อังกฤษ: Dietitian) เป็นบุคลากรสาธารณสุข ที่มีการรับรองโดยสมาคมวิชาชีพ เช่น ในสหรัฐอเมริการับรองโดย Academy of Nutrition and Dietetics หรือ ในประเทศไทยรับรองโดยสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย [1]นักกำหนดอาหารเป็นผู้ที่นำความรู้ทางด้านโภชนาการมากำหนดปริมาณอาหารและสารอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของผู้ป่วย และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ป่วยจนสามารถเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย [2]มักมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของนักโภชนาการ และ นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลกระทบอาหารและสารอาหารต่อสุขภาพ [1] แตกต่างจากนักกำหนดอาหารที่นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านโภชนาการแล้ว ยังต้องมีความรู้ในด้านการให้คำปรึกษาผู้ป่วยด้วยในประเทศไทย นักกำหนดอาหารวิชาชีพจะต้องมีความรู้ตามข้อกำหนดของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย องค์ความรู้ด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy) และการให้คำปรึกษา (Diet Counseling) องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานโภชนาการ (Food Service Management) องค์ความรู้ด้านโภชนาการพื้นฐาน (Basic Nutrition) องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Sciences) และองค์ความรู้ด้านการวิจัย (Nutrition and Dietetics Research) [3] โดยปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาของไทยเปิดทำการเรียนการสอนในสาขาด้านการกำหนดอาหารที่ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิ์สอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพกับสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยนั้น อาทิ เช่น สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[4] เป็นต้น