เมื่อสำเร็จการศึกษา ของ นักศึกษาแพทย์

ตามหลักสูตรจะได้ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยที่ตนเองสังกัดอยู่ และยังต้องสอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งจัดสอบโดย ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศ.ร.ว.) ภายใต้การกำกับดูแลของ แพทยสภาซึ่งเป็นการสอบทั้งประเทศ ภายหลังการสอบทั้งสองอย่างเสร็จสิ้นจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner)

โดยทั่วไปจากสัญญาที่ได้ทำไว้ก่อนเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ บัณฑิตแพทย์จะต้องเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (internship) หรือที่เรียกกันว่าแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรเป็นระยะเวลา 1 ปี และในโรงพยาบาลชุมชนอีก 2 ปี จากนั้นอาจทำงานต่อไปที่โรงพยาบาลชุมชน, ลาออกจากราชการเพื่อประกอบเวชปฏิบัติส่วนตัว, ลาศึกษาต่อเฉพาะทางด้านที่ตนสนใจ อย่างไรก็ดียังเรื่องการเรียนต่อเฉพาะทางภายหลังจบแพทยศาสตร์บัณฑิตนั้นมีรูปแบบที่หลากหลายกว่านี้ เช่น เพิ่มพูนทักษะปีที่ 1 แล้วเข้าอบรมเฉพาะทางต่อเลยในปีถัดไป ซึ่งกระทำได้บางสาขา และบางโรงพยาบาลเท่านั้น (ตามโรงพยาบาลที่มีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก) จำนวนเวลาตามแต่สาขาที่อบรม หรือในบางสาขาขาดแคลน เช่น จิตเวชศาสตร์ อาจไม่ต้องเพิ่มพูนทักษะในปีที่ 1 แต่สามารถสมัครเข้าอบรมได้เลย

บทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์