ประเภท ของ นักเลงคอมพิวเตอร์

ไวต์แฮต

ไวต์แฮต สามารถผ่าเข้าระบบรักษาความปลอดภัย โดยไม่มีเจตนาร้าย ตัวอย่างเช่นทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยของตนเอง

เกรย์แฮต

เกรย์แฮต อยู่ระหว่างแบล็กแฮตกับไวต์แฮต เกรย์แฮตจะท่องโลกอินเทอร์เน็ตและเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเตือนผู้ดูแลว่าระบบของพวกเขาถูกแฮ็ก จากนั้นพวกเขาเสนอที่จะซ่อมแซมระบบให้ โดยมีค่าจ้างเล็กน้อย[5]

บลูแฮต

บลูแฮต คือบุคคลนอกบริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ที่สามารถทดสอบหาบั๊กก่อนที่ระบบจะถูกใช้จริง

แบล็กแฮต

แบล็กแฮต หรือในบางครั้งเรียก แคร็กเกอร์ คือบุคคลที่พยายามเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใช้เทคโนโลยี (โดยมากเป็นคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์หรือเครือข่าย) สำหรับการเพื่อทำลายหรือในด้านลบ เช่น สำรวจเครือข่ายเพื่อตรวจหาเครื่องแปลกปลอม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการที่เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

แฮคเกอร์

แฮคเกอร์ (Hacker) นั้นมีความหมายอยู่ 2 ประเภท โดยส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงคำคำนี้จะเข้าใจว่า หมายถึง บุคคลที่พยายามที่จะเจาะเข้าระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ในอีกความหมายหนึ่งซึ่งเป็นความหมายดั้งเดิม จะหมายถึง ผู้ใช้ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายหรือในด้านลบ เช่น สำรวจเครือข่ายเพื่อตรวจหาเครื่องแปลกปลอม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการที่เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายอย่างมาก

สคริปต์คิดดี้ส์

สคริปต์คิดดี้ส์ (Script - Kiddies) คือแฮคเกอร์ (Hacker) หรือ แฮคกิง (Hacking) ประเภทหนึ่งมีจำนวนมากประมาณ 95 % ของแฮคกิง (Hacking) ทั้งหมด ซึ่งยังไม่ค่อยมีความชำนาญ ไม่สามารถเขียนโปรแกรมในการเจาะระบบได้เอง อาศัย Download จากอินเทอร์เน็ต

ใกล้เคียง

นักเลงเดี่ยว นักเลงคีย์บอร์ด นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ นักเลงตาทิพย์ นักเล่นคีย์บอร์ด นักเลงเทวดา นักเลงคอมพิวเตอร์ นักเล่นแร่แปรธาตุ นักเรียนพลังกิฟต์ นักเตะแข้งสายฟ้า