แผนการทุบทำลายหรือรีโนเวท ของ นากางิงแคปซูลทาวเวอร์

ในการจะทุบทำลายอาคารได้นั้น 80% ของเจ้าของแคปซูลในอาคารต้องยินยอมการทุบทำลาย[4] ซึ่งผ่านการยินยอมครั้งแรกในวันที่ 15 เมษายน 2007 โดยอ้างเหตุผลความมอซอ, สกปรก, เบียดเสียด และความกังวลต่อแร่ใยหิน และเสนอให้ก่อสร้างอาคารใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าแทนที่[2][5] คุโรคะวะ เสนอโดยใช้ข้อดีของงานออกแบบอาคารที่มีความจืดหยุ่นโดยการ "ถอดปลั๊ก" (unplugging) กล่องแคปซูลออกและใส่เข้าใหม่แทน แผนนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสมาคมสถาปนิกหลายแห่ง รวมถึงสถาบันสถาปนิกญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามผู้อยู่อาศัยของอาคารกังวลเรื่องความปลอดภัยของความต้านทานแผ่นดินไหว และเป็นการใช้งานพื้นที่อย่างไม่คุ้มค่าในย่านมูลค่าสูงอย่างกินซะของโตเกียว[5] คุโรคะวะเสียชีวิตในปี 2007 ประกอบกับขาดผู้มาพัฒนาอาคารต่อเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจปลายทศวรรษ 2000[2]

นิคอไล อูรูสซ็อฟ นักวิจารณ์สถาปัตยกรรมของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ คัดค้านการทำลายอาคารและระบุว่าอาคารนี้เป็น "สถาปัตยกรรมอันงดงาม; เช่นเดียวกับอาคารอันยิ่งใหญ่อื่น ๆ นี่เป้นการตกตะกอน (crystallization) ของอุดมคติทางวัฒนธรรมที่ห่างไกลออกไป การดำรงอยู่[ของอาคารนี้]ยังเป็นเครื่องเตือนถึงทางที่ไม่ถูกเลือกเดิน (paths not taken) ของความเป็นไปได้ของโลกที่ถูกก่อร่างขึ้นด้วยกลุ่มของค่านิยมอีกชุดหนึ่ง"[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นากางิงแคปซูลทาวเวอร์ http://papress.com/html/book.details.page.tpl?cart... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://webcache.googleusercontent.com/search?q=ca... https://www.nytimes.com/2009/07/07/arts/design/07c... https://www.uniqhotels.com/nakagin-capsule-tower https://web.archive.org/web/20150217235730/http://... https://web.archive.org/web/20161230021440/http://... https://viaf.org/viaf/316751214 https://www.wikidata.org/wiki/Q1633586#identifiers https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Nakagi...