ประวัติ ของ นายทองสุก

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง นายทองสุกเข้าเป็นฝ่ายพม่า ช่วยทำการรบอย่างแข็งขันจนเนเมียวสีหบดีตั้งให้เป็นตำแหน่งสุกี้ (ในพงศาวดารไทย คำว่า "สุกี้" เข้าใจว่า เรียกเพี้ยนมาจากภาษาพม่าว่า "ซุกคยี" သူကြီး แปลว่า นายกอง[ต้องการอ้างอิง]) และได้อาสาตีค่ายบางระจันจนสำเร็จ เมื่อพม่าตีได้กรุงศรีอยุธยาแล้วจะยกทัพกลับ เนเมียวสีหบดีแต่งตั้งให้นายทองสุกเป็นนายทัพคุมพลพม่าและมอญตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ ส่งตามไปภายหลัง

ชุมนุมสมัยธนบุรี

ในพระราชพงศาวดารและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวตรงกันถึงการปฏิบัติต่อพระเจ้าเอกทัศอย่างพระมหากษัตริย์ ถึงขนาดทูลสัญญาว่าจะ "สถาปนากลับขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สยาม" ซึ่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายว่า นายทองสุกหวังตั้งตัวเป็นใหญ่ในอาณาจักรอยุธยา โดยอาศัยอดีตพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมือง จึงถือได้ว่า นายทองสุกมีความคิดรื้อฟื้นอาณาจักรอยุธยา[2]

หลังการรบที่ค่ายโพธิ์สามต้น

หลักฐานเกี่ยวกับชะตากรรมของนายทองสุกอันเป็นที่รู้จักกันดี คือ นายทองสุกสิ้นชีวิตในที่รบ ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งนิธิ เอียวศรีวงศ์มีความเห็นว่า เป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจากแนวคิดของพระวนรัตน์ ซึ่งกล่าวว่า นายทองสุกเกรงเจ้าตากหนีไป และถูกฆ่าเสียภายหลัง จนกลายเป็นแนวคิดในพระราชพงศาวดารซึ่งชำระหลังพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศเป็นต้นมา[3]

อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานอื่นที่ระบุไว้เป็นอื่น อย่างเช่น

  • ในหนังสือสังคีติยวงศ์ทซึ่งแต่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ระบุว่า นายทองสุกหนีไปได้[4][5]
  • ในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศและจดหมายโหรพระอมราภิรักขิต ซึ่งกล่าวตรงกันว่า นายทองสุกยอมอ่อนน้อมต่อเจ้าตากก่อนการรบที่ค่ายโพธิ์สามต้น[6]