การเรียก ของ นาฬิกาหกชั่วโมง

วิธีนับเวลาตามประเพณี แบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก คือ โมง ทุ่ม และตี

  • โมง หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ 7 นาฬิกา ถึง 11 นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า ถ้าเป็น 12 นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย 5 โมง ถ้า 18 นาฬิกา นิยมเรียกว่า 6 โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า
  • ทุ่ม หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ 6 ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ 19 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา เรียกว่า 1 ทุ่ม ถึง 6 ทุ่ม แต่ 6 ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม
  • "ตี หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ 1 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา เรียกว่า ตี 1 ถึง ตี 6 แต่ตี 6 นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง [1]

ชื่อเรียกต่าง ๆ เหล่านี้มาจากเสียงของการบอกเวลาแต่โบราณ ซึ่งใช้ฆ้องในการบอกโมงยามในเวลากลางวัน และใช้กลองในเวลากลางคืน คำว่า "โมง" อันเป็นเสียงเลียนธรรมชาติของเสียงฆ้อง และ "ทุ่ม" ซึ่งเป็นการเลียนเสียงกลอง ตี เป็นคำกริยาสามารถหมายถึงทำให้เกิดเสียง [2] ส่วน "เช้า" และ "บ่าย" เป็นคำช่วยแบ่งครึ่งช่วงกลางวัน

ชั่วโมงที่หกของแต่ละส่วนนั้นเรียกโดยใช้คำแตกต่างกัน ชั่วโมงที่หกที่ตรงกับรุ่งเช้านั้นจะเรียกว่า ย่ำรุ่ง ชั่วโมงที่หกในช่วงเย็นนั้นจะเรียกว่า ย่ำค่ำ ซึ่งทั้งสองคำหมายถึงการตีฆ้องหรือกลองเป็นลำดับเพื่อบอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนช่วงเวลา (ย่ำ) ส่วน รุ่ง และ ค่ำ หมายถึง ช่วงเช้าและช่วงเย็น ที่ใช้แสดงถึงเวลา ช่วงที่อยู่กลางกลางวันและกลางคืนเรียกว่า เที่ยงวัน และ เที่ยงคืน ตามลำดับ

เที่ยงคืนยังเรียกว่า สองยาม ซึ่งหมายความว่าเป็นจุดสิ้นสุดของการนับยามช่วงที่สอง นอกเหนือจากนี้ หกทุ่ม และ ตีหก ยังอาจใช้หมายถึงเที่ยงคืนหรือหกโมงเช้า