นิติสงคราม

นิติสงคราม (อังกฤษ: lawfare) คือ การใช้กฎหมายเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้าม[1][2] ซึ่งมักปรากฏในรูปการดำเนินทางกฎหมายและทางสื่ออย่างกว้างขวาง เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหายจนอ่อนแอลง สูญเสียการสนับสนุนจากสาธารณชน และหมดพลังอำนาจในการต่อต้านอีก[3][4]คำว่า "lawfare" ในภาษาอังกฤษนั้น มาจากการประสมกันระหว่างคำว่า "law" (กฎหมาย) และ "warfare" (สงคราม)[5] พลตรี ชาลส์ เจ. ดันแลป จูเนียร์ นายทหารและนักกฎหมายชาวสหรัฐ บัญญัติขึ้นใน ค.ศ. 2001[3] ส่วนในภาษาไทย คำว่า "นิติสงคราม" มาจากการเสนอของปิยบุตร แสงกนกกุล นักกฎหมายชาวไทย เมื่อ พ.ศ. 2563[6]โดยปรกติแล้ว คำว่า "นิติสงคราม" ได้รับการมองในเชิงลบ เพราะสื่อถึงการใช้กฎหมายในทางมิชอบ[7]กรณีที่ได้รับการยกเป็นตัวอย่างของนิติสงคราม เช่น ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์[8], ข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้[9] เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย นิติสงครามมีการระบุที่ชัดเจนมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้งในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2566 ที่มีความพยายามใช้ช่องทางต่าง ๆ ทางกฎหมายเพื่อขัดขวางพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ชนะการเลือกตั้ง มิให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย[10][11][12][13][14][15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นิติสงคราม http://www.jpost.com/Opinion/Op-EdContributors/Art... http://lawfareinstitute.com/about-the-institute/ https://thestandard.co/thestandardnow080666-3/ https://www.collinsdictionary.com/dictionary/engli... https://www.dictionary.com/browse/lawfare https://prachatai.com/journal/2023/06/104540 https://scholarlycommons.law.case.edu/cgi/viewcont... https://progressive.international/blueprint/b75fd2... https://dictionary.cambridge.org/dictionary/englis... https://www.lowyinstitute.org/the-interpreter/lawf...