นิติเหตุ

นิติเหตุ (อังกฤษ: causative event, legal cause หรือ proximate cause) เป็นศัพท์กฎหมาย หมายถึง เหตุการณ์ที่มีผลตามกฎหมาย โบราณใช้ว่า "นิติการณ์"[1]ผลที่เกิดขึ้นนี้ ไม่คำนึงว่าเป็นเจตนาของผู้อยู่ในเหตุการณ์หรือไม่ หากแต่เป็นเจตนาของกฎหมาย จึงเรียกว่า "นิติเหตุ" คือ เหตุของกฎหมาย และเพราะฉะนั้น นิติเหตุจึงต่างจาก นิติกรรม ตรงที่ผลของนิติกรรมนั้นเกิดขึ้นโดยเจตนาของผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น ตัวอย่างของนิติเหตุ เช่น เด็กห้าขวบประพันธ์วรรณกรรมขึ้นเรื่องหนึ่ง อันที่จริงเขาเพียงต้องการสรรค์สร้างตามจินตนาการของตน ไม่ได้ต้องการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมนั้น แต่กฎหมายก็ให้เขาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดังกล่าว[2]ตัวอย่างอื่น ๆ ของนิติเหตุ เช่น การเกิด ก่อให้เกิดสภาพบุคคลตามกฎหมาย, การแก่ ก่อให้บุคคลมีความสามารถที่จะมีและใช้สิทธิตามกฎหมาย อาทิ เมื่อบุคคลปรกติเจริญวัยขึ้นจนบรรลุนิติภาวะ ก็จะมีความสามารถกระทำนิติกรรมเองได้โดยลำพัง, และการตาย ทำให้สภาพบุคคลสิ้นสุดลงตามกฎหมาย และมรดกของผู้ตายต้องโอนไปยังทายาทต่อไป ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลที่กฎหมายบันดาลให้เกิด ซึ่งอาจสอดคล้องกับเจตนาของผู้เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้[3]นิติเหตุนับเป็นมูลแห่งหนี้ (obligation) จำพวกหนึ่ง คือ ละเมิด, การจัดการงานนอกสั่ง และ ลาภมิควรได้ ด้วย เช่นเดียวกับนิติกรรม ที่ก่อมูลหนี้จากนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญา[4]โดยนิติเหตุแยกออกเป็น 2 กรณี มีทางธรรมชาติและจากการกระทำของบุคคลได้ดังนี้