คำวิจารณ์ของดัมเบิลดอร์ ของ นิทานของบีเดิลยอดกวี

ในตอนท้ายของแต่ละเรื่อง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ได้เขียนคำวิจารณ์เอาไว้และให้เก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุฮอกวอตส์ โดยเขาได้เขียนบทวิจารณ์ฉบับนี้ก่อนการเสียชีวิตของเขา 18 เดือน (ตรงกับปี 5 ของแฮร์รี่)

คำวิจารณ์เรื่องพ่อมดกับหม้อกระโดดได้

เขาเล่าถึงข้อคิดที่พ่อมดผู้ชราได้สั่งสอนลูกชายให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนบ้าน ทำให้นิทานเรื่องนี้ได้รับการต่อต้านจากพ่อมดแม่มด ว่าเป็นการสอนให้พ่อมดแม่มดเป็นมิตรกับพวกมักเกิ้ล ซึ่งเหมือนกับการนำตนเองไปสู่เรื่องเดือดร้อน ดัมเบิลดอร์ได้กล่าวถึงถ้อยคำวิจารณ์พวกมักเกิ้ลของ "บรูตัส มัลฟอย" ผู้ก่อตั้งนิตยสาร ผู้วิเศษทำศึก และคุณนายเบียทริกซ์ บล็อกซัม ได้ดัดแปลงเรื่องนี้ลงในนิทานของเธอ ซึ่งมีเนื้อหาหวานแหววเกินไปสำหรับเด็กๆ จนเด็กๆ ขอให้เอานิทานเล่มนั้นบดเป็นปุ๋ยไปเสีย

คำวิจารณ์เรื่องน้ำพุแห่งโชคดีทีเดียว

ท่านได้กล่าวถึงตอนที่ท่านเป็นอาจารย์สอนวิชาแปลงร่างใหม่ๆ ศาสตราจารย์เฮอร์เบิร์ต เบียรี อาจารย์สอนวิชาสมุนไพรศาสตร์ในสมัยนั้นอยากจะจัดการแสดงละครใบ้วันคริสต์มาสเพื่อเป็นของขวัญให้เด็กๆ และคณาจารย์ เขาได้ขอให้ดัมเบิลดอร์และศาสตราจารย์เคทเทิ่ลเบิร์นช่วย ซึ่งดัมเบิลดอร์ก็ทำได้ดี แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เมื่อหนอนยักษ์ ซึ่งเคทเทิ่ลเบิร์นได้เอาตัวแอชวินเดอร์ สัตว์มหัศจรรย์ที่เกิดจากไฟเวทมนตร์ มาเสกให้ใหญ่ขึ้น เกิดระเบิด ส่งผลให้ห้องโถงใหญ่ไฟไหม้ และยังเกิดการต่อสู้ของตัวละคร ที่หลงรักกัน ทำให้เขาถูกลงโทษทางวินัย และศาสตราจารย์เบียรีก็ย้ายไปอยู่ที่วิทยาลัยศิลปะของผู้วิเศษ

พ่อมดแม่มดเห็นว่านิทานเรื่องนี้แย่กว่าเรื่องที่แล้วอีก เพราะมันสอนให้พ่อมดแม่มดแต่งงานกับพวกมักเกิ้ล ดัมเบิลดอร์เองก็ได้คำวิจารณ์จากลูเซียส มัลฟอย ที่ขอให้เอานิทานของบีเดิลยอดกวีออกจากห้องสมุดโรงเรียนเสีย เพราะกลัวว่าลูกชายของเขาจะหลงผิดคิดรักพวกมักเกิ้ล แต่ดัมเบิลดอร์ก็ได้อ้างเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า "ประชากรผู้วิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ก็เพราะพวกเขาแต่งงานพวกกับมักเกิ้ล"

คำวิจารณ์เรื่องหัวใจขึ้นขนของผู้วิเศษ

ดัมเบิลดอร์ได้บอกว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากที่สุด ขนาดคุณนายบล็อกซัมยังถึงกับประสาทเสียไปหลายสัปดาห์เมื่อแอบได้ยินญาติผู้ใหญ่ของเธอเล่าเรื่องนี้ ผู้ปกครองควรคิดให้ดีว่าลูกของพวกเขาโตพอหรือยังที่จะเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง หลังจากนั้นเขาเขียนว่าไม่มีผู้ใดหลบเลี่ยงความเจ็บปวดทางใดๆ ได้ เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ ผู้วิเศษในเรื่องได้ทำการแบ่งแยกร่างกายและจิตใจของเขาออกจากกัน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเขาให้ตกต่ำลงสู่อมนุษย์ ทำให้หัวใจของเขาขึ้นขนเหมือนสัตว์ร้าย ในที่สุดเมื่อเขาต้องการหัวใจกลับคืนมาก็ยากที่จะฟื้นฟู ท้ายสุด นิทานเรื่องนี้มีอิทธิพลให้เกิดสำนวน "หัวใจขึ้นขน" ในหมู่ผู้วิเศษ ซึ่งหมายความว่าพ่อมดที่ไม่ชอบการผูกมัด หรือเย็นชา

คำวิจารณ์เรื่องแบ็บบิตตี้ แร็บบิตตี้ กับตอไม้หัวเราะได้

เขาได้กล่าวว่านิทานเรื่องนี้มีความสมจริงมากที่สุด อันแรก เรื่องของความตายที่ไม่มีเวทมนตร์ไหนเอาชนะได้ จนพ่อมดแม่มดคิดประดิษฐ์สิ่งที่จะแทนคนรักได้ อย่างเช่นรูปภาพที่เคลื่อนไหวได้ เรื่องที่สอง เรื่องของแอนิเมะจัส แต่เขาคาดว่าบีเดิลคงได้ยินเรื่องนี้มา จึงไม่รู้ว่าผู้ที่เป็นแอนิเมะจัสไม่สามารถพูดได้ในร่างสัตว์ เขาคาดว่าบีเดิลได้นำเอาเหตุการณ์ประหารลีแซต เดอลาแปง แม่มดชาวฝรั่งเศสที่ถูกจับได้ว่าเป็นแม่มด แต่ก็หนีออกมาได้ เรื่องที่สามกล่าวถึงการที่พระราชาคิดว่าจะเรียนเวทมนตร์ได้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ จึงหลงเชื่อนักต้มตุ๋นและแม่มดแบ๊บบิตตี้ เรื่องที่สี่ เรื่องที่ไม่ควรตัดต้นไม้ที่ใช้ทำไม้กายสิทธิ์ หากไม่อยากเจ็บตัวจากตัวโบวทรักเคิล เรื่องสุดท้ายก็คือคำสาปกรีดแทง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับคาถาที่แบ๊บบิตตี้ขู่พระราชาไม่มีผิด

คำวิจารณ์เรื่องนิทานสามพี่น้อง

เขากล่าวว่าเป็นเรื่องที่เขาขอให้แม่เล่าบ่อยที่สุด มีบางคนบอกไว้ว่าบีเดิลบอกรหัสให้รู้ว่าของขวัญทั้งสามของยมทูต มีอยู่จริง และได้ชื่อว่าเป็น 3 สิ่งที่ทำให้ผู้ครอบครองเอาชนะความตายได้ ซึ่งดัมเบิลดอร์ได้กล่าวไว้ว่าเป็นความหวังที่สิ้นหวัง เพราะไม่มีใครเอาชนะความตายได้ เรื่องความฉลาดของน้องคนสุดท้อง ที่รู้ว่าจะเอาวิธีชนะความตาย อย่างถูกต้อง ได้อย่างไร ดัมเบิลดอร์เล่าประวัติของการครอบครองไม้ที่มีชื่อเสียงนี้เพิ่มเติม และกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ผู้คนส่วนใหญ่มักเมินวิธีของน้องคนสุดท้อง ที่ใช้ผ้าคลุมล่องหน และหันไปหาวิธีเอาชนะความตาย หรือเอาคนตายกลับมา ซึ่งแม้แต่ตัวเขาเองก็ยังโง่เขลาที่ปฏิเสธของที่เอาชนะความตายได้ อย่างแท้จริง

ใกล้เคียง

นิทาน นิทานพันดาว นิทานของบีเดิลยอดกวี นิทานเวตาล นิทานแห่งมหาสมุทร: เธอคือคนที่ชั้นจะอยู่เคียงข้างตลอดไป นิทานเวตาล (ละครโทรทัศน์) นิทานพื้นบ้าน นิทานคติสอนใจ นิทาน (เพลงมัสเกตเทียส์) นิทานเรื่องเกาะ (เรื่องนี้ไม่มีคติ)