ประวัติ ของ นิวทริโน

ข้อเสนอของเพาลี

นิวทริโน [nb 1] ถูกตั้งสมมติฐานครั้งแรกโดย โวล์ฟกัง เพาลี (Wolfgang Pauli) ในปี 1930 เพื่ออธิบาย การสลายให้อนุภาคบีตา ตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน, โมเมนตัม, และโมเมนตัมเชิงมุม (สปิน) ในทางตรงกันข้ามกับ นีลส์ บอร์ ผู้เสนอเวอร์ชันทางสถิติของกฎการอนุรักษ์ที่จะอธิบายถึงปรากฏการณ์ เพาลีตั้งสมมติฐานถึงอนุภาคที่ไม่สามารถตรวจพบได้และเรียกมันว่า "นิวตรอน" ซึ่งเป็นผลิตผลจากการสลายให้อนุภาคอัลฟาและบีตา [5][6][nb 2] อย่างไรก็ตาม เพาลี ไม่ได้เผยแพร่สมมุติฐานและชื่อนี้

n 0 {\displaystyle n^{0}} ⟶ {\displaystyle \longrightarrow } p + {\displaystyle p^{+}} + e − {\displaystyle e^{-}} + v ¯ {\displaystyle {\bar {v}}} e

ในปี 1932 เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) ได้ประกาศการค้นพบอนุภาคนิวเคลียร์ชนิดใหม่ที่มีมวลมาก และตั้งชื่อว่า นิวตรอน ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา เอนรีโก แฟร์มี ผู้พัฒนาทฤษฎีของการสลายให้อนุภาคบีตา เป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า นิวทริโน (neutrino) ให้กับอนุภาคตามสมมุติฐานของเพาลี มีความหมายว่าอนุภาคที่เป็นกลางคือไม่มีประจุไฟฟ้า