ลักษณะเฉพาะ ของ นิโคตินาไมด์ไรโบไซด์

นิโคตินาไมด์ไรโบไซด์ (NR) ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน พ.ศ. 2487 ว่าเป็น สารเร่งการเจริญเติบโต (Factor V) ของแบคทีเรีย Haemophilus influenzae มีการอธิบายแฟกเตอร์ V ที่ทำให้บริสุทธิ์จากโลหิตว่าประกอบด้วยสารสามชนิดคือ NAD+, NMN และ NR โดยที่ NR เป็นสารที่เร่งการเจริญเติบโตของเชื้อ H. influenzae ได้มากที่สุด[3] ในทางตรงกันข้าม H. influenzae ไม่เติบโตในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีกรดนิโคตินิก, นิโคตินาไมด์, ทริปโตเฟน หรือกรดแอสปาร์ติก ซึ่งก่อนหน้านี้เคยอธิบายว่าเป็นสารตั้งต้นของ NAD+[4]

ในปี พ.ศ. 2543 การทดสอบในยีสต์ Sir2 แสดงว่า NAD+ ขึ้นอยู่กับเอนไซม์ดีอะซิติเลสของโปรตีนไลซีน โดยการสังเคราะห์ NAD+ ในยีสต์อาจดำเนินการผ่านกรดนิโคตินิกโมโนนิวคลีโอไทด์ (NAMN) เท่านั้น[5][6][7][8][9] ถ้าเอนไซม์สังเคราะห์ NAD+ จากการไฮโดรไลซ์กลูตามีนในยีสต์ถูกขจัดออก ยีสต์ยังคงสามารถเติบโตได้เมื่อมี NR

ในเวลาต่อมาได้มีการทดลองการแปลงนิโคตินาไมด์ไรโบไซด์เป็น NMN โดยเอนไซม์นิโคตินาไมด์ไรโบไซด์ไคเนส ให้ผลในหลอดทดลอง (in vitro) และในร่างกาย (in vivo)[10][11]

ใกล้เคียง

นิโคติน นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ นิโคตินาไมด์ไรโบไซด์ นิโคตินิล แอลกอฮอล์ นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต นิโคลา เทสลา นิโคล เทริโอ นิโคล คิดแมน นิโคเซีย นิโคลัส มิคเกลสัน