อันตราย ของ นิ้วน้ำแข็ง

นิ้วน้ำแข็งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เนื่องจากมีโอกาสน้อยมากในการเดินทางใต้แผ่นน้ำแข็งที่นิ้วน้ำแข็งก่อตัว ยกเว้นแต่นักดำน้ำที่ศึกษาวิจัยจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) และบาดแผลจากการถูกความเย็นจัด (Frostbite) อย่างไรก็ตามสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่เคลื่อนที่ช้าและอาศัยที่พื้นทะเล เช่น ดาวทะเล และเม่นทะเลไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วพอที่จะหลบหนีน้ำเกลือเข้มข้นที่เย็นจัดได้ และอาจถูกแช่แข็ง ทำให้นิ้วน้ำแข็งได้รับฉายาว่า "นิ้วแห่งความตาย" หรือ "น้ำแข็งย้อยมรณะ" แอ่งน้ำเกลือที่เย็นจัดอาจก่อตัวขึ้นและคงอยู่ใต้บริเวณที่มีการก่อตัวของนิ้วน้ำแข็ง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "แอ่งมรณะ" ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตกับสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่เดินผ่านไปมา[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นิ้วน้ำแข็ง http://www.livescience.com/29085-how-brinicles-for... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23551166 //arxiv.org/abs/1304.1774 http://journals.cambridge.org/action/displayAbstra... //doi.org/10.1017%2FS0022112074001017 //doi.org/10.1021%2Fla4009703 http://www.eproceedings.org/static/vol14_S1/14_S1_... https://www.bbc.com/earth/story/20161219-brinicle-... https://www.livescience.com/29085-how-brinicles-fo... https://www.scientificamerican.com/article/how-sea...