หลังการอสัญกรรมของสตาลิน ของ นีกีตา_ครุชชอฟ

ปี ค.ศ. 1953 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของสตาลินในวันที่ 5 พฤษภาคม 1953 ลัฟเรนตีย์ เบรียา (Lavrenti Beria) หัวหน้าหน่วยตำรวจลับของสตาลิน ได้ขึ้นป็นรองประธานสภารัฐมนตรีดำดับที่หนึ่ง และรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นหนึ่งวัน พันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิด และเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอรมันตะวันออกและหันไปญาติดีกับสหรัฐ ทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไว้ใจในตัวเบเรีย โดยเฉพาะครุชชอฟ เป็นคนที่ต่อต้านเบเรียอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้ จนกระทั่งเมื่อเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอรมันตะวันออกในเดือนมิถุนายน สมาชิกพรรคหลายคนกังวลว่านั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต นั้นทำให้มาเลนคอฟหันไปช่วยเหลือครุชชอฟ ครุชชอฟทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากเบเรียทำให้เบเรียถูกจับตัวได้วันที่ 26 มิถุนายน 1953หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน 1953 ครุสซอฟจึงได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และในปี 1958 ก็ได้ควบตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรี

ต่อมาครุฟชอฟก็ได้ทำให้โลกต้องตกตะลึงด้วยการผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของสตาลิน ผู้ซึ่งเป็นเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุก ๆ ที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้งจนหมด เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออก ศพของสตาลินก็ย้ายจากข้าง ๆ วลาดิมีร์ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงเครมลิน แต่ว่าการประณามสตาลินในครั้งนั้นทำให้ประธานเหมา เจ๋อตงผู้นำของประเทศจีนเกิดไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะเขาได้ยึดถือลัทธิการเชิดชูวีรบุรุษก็คือประธานเหมาได้เอาสตาลินมาเทียบเท่ากับตน ทำให้การประณามของครุฟชอฟนั้นมากระทบถึงประธานเหมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำลงจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันของทั้งสองประเทศในเวลาต่อมา จนกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นออกมาสองแบบคือ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม (คือรักษาระบบนารวมเอาไว้) ของจีน การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และโซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต

แม้ครุชชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง เช่น วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และในฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ อะเลคเซย์ โคซีกิน ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1964 หลังจากนั้นครุชอฟได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุขในกรุงมอสโกด้วยเงินบำนาญและเสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1971 รวมอายุได้ทั้งหมด 77 ปี