ประวัติสมมุติ ของ นีโครโนมิคอน

Wikisource
วิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ (English) มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ: ประวัติของนีโครโนมิคอน

เลิฟคราฟท์ได้เขียนประวัติสมมุติคร่าวๆของนีโครโนมิคอนในปีพ.ศ. 2470 และได้รับการเผยแพร่ในชื่อว่า ประวัติของนีโครโนมิคอน ในปีพ.ศ. 2481 หลังจากที่เลิฟคราฟท์เสียชีวิตไปแล้ว[11] ทำให้นักประพันธ์รุ่นหลังสามารถเขียนถึงนีโครโนมิคอนอย่างสอดคล้องกันได้[12]

ในประวัติของนีโครโนมิคอนนั้น เดิมทีหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า อัล อาซิฟ (Al Azif) ซึ่งเป็นศัพท์อาหรับที่เลิฟคราฟท์แปลว่า "เสียงในยามราตรี (ที่แมลงทำ)ซึ่งเหมือนเสียงหอนของปิศาจ" (พจนานุกรม อาหรับ/อังกฤษเล่มหนึ่งระบุว่า `Azīf หมายถึง "เสียงหวีดหวิว (ของลม); เสียงประหลาด")[13]

อับดุล อัลฮาเซรด "อาหรับวิปลาส" ผู้เขียนนีโครโนมิคอนนั้นเป็นผู้บูชายอก โซธอทและคธูลู มาจากซานาในเยเมน และเคยไปเยือนซากโบราณแห่งบาบิโลน "ความลับใต้ดิน" ของเมืองเมมฟิสในประเทศอียิปต์ และค้นพบนครไร้นามใต้ไอเรมในทะเลทรายของอาหรับ อัลฮาเซรดได้อาศัยอยู่ที่ดามัสกัสและได้เขียนอัล อาซิฟก่อนจะถูกอสุรกายที่มองไม่เห็นฉีกร่างเป็นชิ้นๆในปี ค.ศ. 738

อัล อาซิฟได้รับความสนใจอย่างมากจากเหล่านักปรัชญาในสมัยนั้น และได้รับการแปลเป็นภาษากรีกในปีค.ศ. 950 โดยธีโอโดรัส ฟิเลตัส นักศึกษาจากคอนสแตนติโนเปิล ผู้ตั้งชื่อให้หนังสือเล่มนี้ว่า นีโครโนมิคอน เนื่องจากมีผู้ได้ทดลองกระทำสิ่งที่น่ากลัวตามนีโครโนมิคอน ทำให้พระสังฆราชไมเคิลที่หนึ่งประกาศให้เป็นหนังสือต้องห้ามและเผาทำลายในปี 1050 จึงมีการเผยแพร่อย่างลับๆเท่านั้น

ในปี 1228 บาทหลวงลัทธิโดมินิกัน ออเล วอร์เมียสได้แปลนีโครโนมิคอนเป็นภาษาละติน (ในความเป็นจริงนั้น ออเล วอร์มเป็นแพทย์ชาวเดนนิชและมีชีวิตอยู่ในช่วง 1588 ถึง 1655) สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9ได้สั่งให้นีโครโนมิคอนทั้งสองภาษาเป็นหนังสือต้องห้ามในปี 1232 แต่ก็มีการพิมพ์ฉบับภาษาละตินในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในประเทศเยอรมนีและช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17ในประเทศสเปน ส่วนฉบับภาษากรีกนั้นมีการเผยแพร่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16ในประเทศอิตาลี

ในสมัยเอลิซาเบธ จอห์น ดีได้แปลนีโครโนมิคอนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ไม่เคยมีการตีพิมพ์และมีต้นฉบับเหลืออยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น (เนื้อหาที่โยงจอห์น ดีเข้ากับนีโครโนมิคอนนี้ แฟรงก์ เบลค์นาพ ลองเป็นผู้เสนอให้เลิฟคราฟท์)

สำเนาของนีโครโนมิคอนฉบับดั้งเดิมนั้นมีเก็บไว้ตามสถาบันต่างๆเพียงห้าเล่มเท่านั้น

นอกจากนั้นแล้วยังมีสำเนาที่เก็บไว้เป็นของส่วนตัว คือที่ปรากฏในเรื่อง The Case of Charles Dexter Ward ในเรื่อง The Festival ในเรื่อง The Nameless City และในเรื่อง The Hound

อัล อาซิฟ ฉบับภาษาอาหรับนั้นหายสาบสูญไปแล้วก่อนที่นีโครโนมิคอนจะกลายเป็นหนังสือต้องห้าม แม้ว่าจะมีการอ้างถึงสำเนาลับๆที่ปรากฏในซานฟรานซิสโกในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็สาบสูญไปในอุบัติเหตุไฟไหม้ในเวลาต่อมา ส่วนฉบับภาษากรีกนั้นก็ไม่เคยมีใครพบอีกเลยหลังจากที่ห้องสมุดของชายชาวซาเลมถูกเผาไปในปี 1692

แหล่งที่มา

WikiPedia: นีโครโนมิคอน http://www.hplovecraft.com/creation/necron/letters... http://www.mythostomes.com/content/view/12/72/ http://www.mythostomes.com/content/view/14/69/ http://www.mythostomes.com/content/view/16/69/ http://www.mythostomes.com/content/view/97/72/ http://www.mythostomes.com/content/view/99/72/ http://www.reocities.com/clorebeast/necpage.htm http://www.yankeeclassic.com/miskatonic/library/st... http://ask.bibsys.no/ask/action/show?pid=970451504...