แม่เหล็กถาวร ของ นีโอดิเมียม

แม่เหล็กนีโอดีเมียม (ที่จริงเป็นส่วนผสม, Nd2Fe14B)) เป็นแม่เหล็กถาวรที่แข็งแกร่ง แม่เหล็ก ที่รู้จักกัน แม่เหล็กนีโอดีเมียมแค่ไม่กี่กรัมสามารถยกน้ำหนักพันเท่าน้ำหนักของมันเองได้ แม่เหล็กนีโอดีเมียมมีราคาถูกกว่า เบาและแข็งแรงกว่า แม่เหล็กซาแมเรียมโคบอลต์ แต่แม่เหล็กนีโอดีเมียมไม่ได้เหนือกว่าในทุกด้าน แม่เหล็กนีโอดีเมียมก็มีการสูญเสียอำนาจแม่เหล็กของพวกมันเองได้ที่อุณหภูมิสูงและอาจที่จะเกิดสนิม ในขณะที่แม่เหล็กซาแมเรียมโคบอลต์ไม่สามารถเกิดได้

  • การใช้ประโยชน์นีโอดิเมียมหนีไม่พ้นเรื่องแม่เหล็กถาวร ปัจจุบันถือได้ว่า แม่เหล็กนีโอดิเมียมมีคุณสมบัติโดดเด่นที่สุดและแพร่หลายที่สุด แม่เหล็กนี้พัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ.1984 โดยทีมงานของมะซะโตะ ซะกะวะ(Masato Sagawa) แห่งบริษัทซุมิโตโมเปเชียลเมทัลส์ (Sumitomo Special Metals ปัจจุบันคือ บริษัท ฮิตาชิเมทัลส์ (Hitachi Metals)) แม่เหล็กนี้เป็นส่วนผสมของนีโอดิเมียม เหล็กFe และ โบรอนB
  • เมื่อเปรียบเทียบแม่เหล็กนีโอดิเมียมกับแม่เหล็กอื่น พบว่ามีพลังสูงกว่าแม่เหล็กเฟอร์ไรต์ (ferrite magnet) ถึง10เท่า และสูงกว่าแม่เหล็กซาแมเรียมโคบอลต์(samarium-cobalt magnet) 1.7เท่า ยิ่งไปกว่านั้น นีโอดิเมียมยังเป็นแลนทาไนด์ที่หามายาก เมื่อนำมาผสมกับเหล็กซึ่งมีราคาถูก จึงมีจุดเด่นในเรื่องต้นทุนต่ำ
  • อย่างไรก็ตาม แม่เหล็กนีโอดิเมียมยังมีข้อด้อยคือ ขึ้นสนิมได้ง่าย และอ่อนไหวง่ายต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งกำลังพัฒนาเพื่อปรับปรุงจุดนี้ นิยมใช้แม่เหล็กนีโอดิเมียมกับลำโพง เฮดโฟน มอเตอร์เล็กๆในโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น แล้วยังใช้เป็นแม่เหล็กในตุ้มหูอีกด้วย