นโยบายการคลัง

ในวิชาเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นโยบายการคลัง (อังกฤษ: fiscal policy) เป็นการใช้การเก็บรายได้ภาครัฐ (ภาษี) และรายจ่ายภาครัฐเพื่อส่งอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ การใช้รายได้และรายจ่ายภาครัฐเพื่อให้มีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคนั้นพัฒนาขึ้นในช่วงหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่อแนวทางจัดการเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไปแต่เดิมเสื่อมความนิยม นโยบายการคลังตั้งอยู่บนทฤษฎีของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวบริติช ซึ่งมีทฤษฎีว่าการเปลี่ยนแปลงระดับการจัดเก็บภาษีและรายจ่ายของรัฐบาลมีอิทธิพลต่ออุปสงค์มวลรวมและระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและการคลังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลและธนาคารกลางใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายทั้งสองร่วมกันทำให้องค์การดังกล่าวตั้งเป้าเงินเฟ้อและเพิ่มการจ้างงาน นอกจากนี้ ยังออกแบบมาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องและอัตราว่างงานอยู่ใกล้กับอัตราธรรมชาติร้อยละ 4–5[1] จึงเป็นการส่อความว่านโยบายการคลังใช้เพื่อรกษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในห้วงวัฏจักรธุรกิจ[2]การเปลี่ยนแปลงระดับและองค์ประกอบของการเก็บภาษีอากรและรายจ่ายภาครัฐมีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค ดังนี้

ใกล้เคียง

นโยบายการขอรับลงตราของประเทศไทย นโยบายไวต์ออสเตรเลีย นโยบายพลังงานแห่งชาติปากีสถาน นโยบายสาธารณะ นโยบายการเงิน นโยบายการขอรับลงตราของประเทศลาว นโยบายต่างประเทศของอิหร่าน นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายจีนเดียว นโยบายการคลัง