บริติชซีลอน
บริติชซีลอน

บริติชซีลอน

บริติชซีลอน (อังกฤษ: British Ceylon) หรือ ลังกาของบริเตน (สิงหล: බ්‍රිතාන්‍ය ලංකාව; ทมิฬ: பிரித்தானிய இலங்கை) เป็นอาณานิคมในพระองค์ของสหราชอาณาจักร ระหว่าง ค.ศ. 1802 ถึง ค.ศ. 1948 บริติชซีลอนคือประเทศศรีลังกาในปัจจุบันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เกาะลังกาตกอยู่ภายใต้สภาวะสงครามระหว่างโปรตุเกสกับอาณาจักรกัณฏิ ต่อมาเมื่อเนเธอร์แลนด์สถาปนาเป็นสาธารณรัฐดัตช์ กษัตริย์แห่งกัณฏิได้เจรจาให้เนเธอร์แลนด์เข้ามาช่วยรบต่อต้านโปรตุเกส หลังจากเนเธอร์แลนด์เข้ามากำจัดอิทธิพลของโปรตุเกสออกไป บางส่วนของเกาะลังกาก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าเนเธอร์แลนด์จะไม่มีอำนาจมากพอถึงขนาดจะสั่งกษัตริย์แห่งกัณฏิได้ แต่เนเธอร์แลนด์เข้าผูกขาดการค้าระหว่างประเทศของเกาะลังกาผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนเธอร์แลนด์อ่อนแอลงจากการทำสงครามกับบริเตนใหญ่ และถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส ผู้นำของเนเธอร์แลนด์ได้ลี้ภัยไปยังกรุงลอนดอนและตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่นั่น รัฐบาลดัตช์ ณ กรุงลอนดอนมิอาจบริหารอาณานิคมได้อย่างมีประสิทธิผล จึงได้โอนการปกครองในเกาะลังกาแก่บริเตนใหญ่ในปี ค.ศ. 1796 แม้ว่าจะได้รับเสียงคัดค้านจากชาวดัตช์บางส่วนก็ตาม เมื่อบริเตนใหญ่เข้าครอบครองบางส่วนของเกาะลังกาซึ่งเคยเป็นของเนเธอร์แลนด์ บริเตนใหญ่ต้องการขยายเขตอิทธิพลของตนจึงได้เจรจาให้อาณาจักรกัณฏิมาเป็นรัฐในอารักขาแต่ถูกปฏิเสธ สงครามจึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริเตนยังติดพันกับสงครามนโปเลียนจึงไม่ได้ใส่ใจสงครามในเกาะลังกามากนัก ในปี ค.ศ. 1815 บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ของกัณฏิได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากพระเจ้าศรีวิกรม ราชสิงหะ (พระองค์ไม่ใช่ชาวสิงหลซึ่งนับถือพุทธ แต่เป็นกษัตริย์จากแคว้นในอินเดียใต้ซึ่งนับถือฮินดู) และนำพระองค์ไปจองจำไว้ บรรดาขุนนางของกัณฏิได้ร่วมกันลงนามสนธิสัญญากับบริเตนในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1815 ยอมรับอำนาจอธิปไตยของบริเตนเหนือเกาะลังกา มีความพยายามซ่อนตัวอดีตพระเจ้าศรีวิกรมจากพวกอังกฤษ แต่ภายหลังพระองค์ถูกอังกฤษจับกุมได้และถูกส่งตัวไปกักบริเวณที่รัฐทมิฬนาฑูในอินเดียใต้[1]หลังเข้ามาปกครองเกาะลังกา ชาวอังกฤษพบว่าเกาะแห่งเหมาะสมต่อการปลูกต้นกาแฟ ต้นชา และต้นยางอย่างมาก กลางศตวรรษที่ 18 บริติชซีลอนก็กลายเป็นแหล่งผลิตชากาแฟที่สำคัญที่สุดของสหราชอาณาจักร สร้างรายได้แก่เกษตรกรท้องถิ่นเป็นอย่างดี การปลูกชากาแฟในบริติชซีลอนเฟื่องฟูมากจนอังกฤษต้องนำแรงงานชาวทมิฬจำนวนมากเข้ามาจากอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 10 ของประชากรในบริติชซีลอน อย่างไรก็ตาม แรงงานชาวทมิฬนี้มีสภาพการทำงานย่ำแย่ไม่ต่างจากทาส แตกต่างชาวสิงหลที่ได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากอังกฤษ

ใกล้เคียง

บริติชราช บริติชแอร์เวย์ บริติชมาลายา บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี บริติชแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 9 บริติชซีลอน บริติชแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 5390 บริติชไอลส์ บริติช สกาย บรอดคาสติ้ง บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี