บลัดดีแซตเทอร์เดย์_(ภาพถ่าย)
บลัดดีแซตเทอร์เดย์_(ภาพถ่าย)

บลัดดีแซตเทอร์เดย์_(ภาพถ่าย)

บลัดดีแซตเทอร์เดย์ (อังกฤษ: Bloody Saturday) เป็นชื่อของภาพถ่ายขาวดำซึ่งได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ค.ศ. 1937 และมีผู้ชมภาพถ่ายดังกล่าวมากกว่า 136 ล้านคนทั่วโลก ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน[1] โดยเป็นภาพเด็กทารกกำลังร้องไห้อยู่ในซากปรักหักพังที่ถูกทิ้งระเบิดของสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้ใต้ ภาพถ่ายดังกล่าวได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งแสดงถึงความโหดร้ายในช่วงสงครามของญี่ปุ่นในจีน ภาพนี้ถ่ายขึ้นเพียงไม่กี่นาทีหลังจากการโจมตีทางอากาศต่อพลเรือนระหว่างยุทธการเซี่ยงไฮ้ ช่างถ่ายภาพของเฮิร์สท์คอร์เปอเรชัน เอช.เอส. "นิวส์รีล" หว่อง ซึ่งไม่สามารถระบุเอกลักษณ์หรือแม้กระทั่งเพศของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บคนดังกล่าว ผู้ซึ่งแม่ของเด็กคนนี้พบว่านอนเสียชีวิตในบริเวณใกล้เคียง ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพถ่ายสงครามที่เป็นที่จดจำที่สุดเท่าที่เคยได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นฉากภาพยนตร์ข่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1930[2] ภาพดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกโกรธแค้นแก่ชาวตะวันตกถึงความโหดร้ายของญี่ปุ่นในจีน[3] นักหนังสือพิมพ์ แฮโรลด์ ไอแซกส์ เรียกภาพสัญลักษณ์นี้ว่าเป็น "หนึ่งในชิ้นงาน 'โฆษณาชวนเชื่อ' ที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาลชิ้นหนึ่ง"[4]หว่องถ่ายภาพฟิล์มของสถานีใต้ที่ถูกระเบิดไปด้วยกล้องภาพยนตร์อายโมของเขา และเขายังได้จับภาพบางภาพด้วยกล้องไลก้า ภาพนิ่งที่มีชื่อเสียง ถ่ายจากกล้องไลก้า อาจเรียกได้ด้วยชื่ออื่นที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก โดยมีการอธิบายถึงองค์ประกอบที่มองเห็นได้ โดยภาพนี้มีการเรียกว่า "ทารกชาวจีนไร้แม่"[5], "ทารกชาวจีน" และ "ทารกในสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้"[6] ภาพถ่ายดังกล่าวได้รับการประณามโดยนักชาตินิยมชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งแย้งว่าเป็นการจัดฉากขึ้น[7]

ใกล้เคียง

บลัดดีรอร์ บลัดดีแซตเทอร์เดย์ (ภาพถ่าย) บลัดดีแมรี บลัด ฟรี (ละครโทรทัศน์) บัดดี แมทธิวส์ บลัดออนเดอะแดนซ์ฟลอร์: ฮิสทรีอินเดอะมิกซ์ บลัดมูน บัดดีแดดดีส์ บัดดี โรเจอส์ บลัดออนเดอะแดนซ์ฟลอร์ x เดนเจอรัส