รายละเอียดทางเทคนิค ของ บลูทูธ

Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (จิกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-100 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้นโดยหลัก ของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอปพลิเคชันต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-100 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย

ระยะทำการ

ความสามารถในการส่งข้อมูลของบลูทูธนั้นขึ้นกับแต่ละ class ที่ใช้ ซึ่งมี 4 class ดังนี้

  • Class 1 กำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 100 เมตร
  • Class 2 กำลังส่ง 2.5 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 10 เมตร
  • Class 3 กำลังส่ง 1 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 1 เมตร
  • Class 4 กำลังส่ง 0.5 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 0.5 เมตร

รุ่น

ข้อกำหนด และคุณสมบัติของ Bluetooth แบ่งเป็นรุ่นต่างๆ ดังนี้

  • Bluetooth 1.0
  • Bluetooth 1.1
  • Bluetooth 1.2 z
  • Bluetooth 2.0
  • Bluetooth 2.0 EDR
  • Bluetooth 2.1 EDR
  • Bluetooth 3.0
  • Bluetooth 4.0
  • Bluetooth 4.1
  • Bluetooth 4.2
  • Bluetooth 5
  • Bluetooth 5.1
  • Bluetooth 7
    • ระบบ EDR : Enhanced Data Rate เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 3 Mbps.

โปรไฟล์

  • HFP
  • AVRCP ย่อมาจาก Audio/Video Remote Control Profile