บทบาททางการเมือง ของ บัญญัติ_บรรทัดฐาน

บัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปี พ.ศ. 2546 จึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเดือนเมษายนตามการเลือกของสมาชิกพรรค หลังจากนายชวน หลีกภัย หมดวาระไป และไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งต่อ บัญญัติ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 เมื่อพรรคไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนายบัญญัติได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ถ้าพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้งจะขอลาออก[9]

ได้รับฉายาว่า "บัญญัติ 10 ประการ" เนื่องจากมักพูดหรือให้สัมภาษณ์ติดคำว่า "ประการ" และ "ประการต่อไป"

นายบัญญัติมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้คดียุบพรรค โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานคณะทำงานเตรียมสำนวนคดี และสามารถนำพาพรรครอดพ้นคดียุบพรรคได้สำเร็จ ในขณะที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค

ปัจจุบันนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ในปี พ.ศ. 2562 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้ง[10] และได้รับการกล่าวถึงทางสื่อมวลชนว่าเป็นหนึ่งในรายชื่อผู้ที่จะถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติเสนอชื่อนายชวน หลีกภัย

ใกล้เคียง

บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง บัญญัติ บรรทัดฐาน บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา บัญญัติ จันทน์เสนะ บัญญัติตะวันตก บัญญัติ สุชีวะ บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง บัญญัติ (ศาสนาพุทธ) บัญญัติ เจตนจันทร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: บัญญัติ_บรรทัดฐาน http://news.sanook.com/politic/politic_123341.php http://news.sanook.com/social/social_121383.php http://www.manager.co.th/Election48/ViewNews.aspx?... http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.as... http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=0... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/...