ประวัติ ของ บัณฑิตวิทยาลัย_มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดตั้งขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีการจัดตั้ง "โครงการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย" มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบให้ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล จัดตั้งฝ่ายบัณฑิตศึกษาขึ้นใช้ชื่อย่อว่า “ฝบ.” โดยมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการเรียนการสอนระดับปริญญาโทเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะมีการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ได้ดำเนินการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 และได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยอย่างเป็นทางการปีการศึกษา 2533 มีฐานะเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย โดยมีภารกิจหลัก คือ ประสานงานในการจัดการเรียนการสอนระดับ บัณฑิตศึกษา รักษามาตรฐานการศึกษาและประกันคุณภาพการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย และเป็นหน่วยงาน กลางในการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัย ได้ทำหน้าที่สนับสนุน ประสานงาน และช่วยเหลือในเรื่องการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ให้กับคณะและหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกรียติ ครอบคลุมตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาบัณฑิต จนถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในทุกสาขาวิชา

เนื่องจากการจัดการเรียนสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น กระจายตามคณะ ต่างๆ จึงมีการรวมหลักสูตรต่างๆ ขึ้นเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานทั้งในส่วนกลาง และวิทยาเขตบางนา ยังรวมไปทั้งของการเรียนการสอนปริญญาโทในส่วนภูมิภาคนั้น อาจารย์ผู้สอนจะเดินทางไปสอนที่สาขาวิทยบริการต่างๆ หมุนเวียนกันไปทั้ง 4 จังหวัด เมื่ออาจารย์ไปบรรยายที่สาขาวิทยบริการใดก็ จะทำการถ่ายทอดภาพและเสียงการบรรยายไปยังสาขาวิทยบริการอื่นๆ โดยใช้ Video Conferencing System ผ่านสัญญาณดาวเทียมไปสู่ห้องเรียน ด้วยวิธีนี้จะทำให้นักศึกษาจากทุกสาขาวิทยบริการได้รับฟังการบรรยายจากอาจารย์ผู้สอนพร้อมกันในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนยังสามารถสื่อสารโต้ตอบกับนักศึกษาจากทุกสาขาวิทยบริการในลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ได้อีกด้วย

ใกล้เคียง

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บัณฑิตา ฐานวิเศษ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น บัณฑิต เจริญวานิชและจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตย์ เดชกุญชร บัณฑิต อึ้งรังษี