วงศ์และสกุล ของ บัว

วงศ์

พืชน้ำในภาษาไทยที่มีชื่อสามัญว่า "บัว" พบในสองวงศ์คือ

  • วงศ์บัวสาย (En:Nymphaeaceae) ใบลอยบนผิวน้ำ รวมบัวกระด้งอยู่ในวงศ์นี้ด้วย บัววงศ์นี้มีความโดดเด่นด้วยดอกและใบที่เบ่งบานชูช่ออยู่เหนือน้ำเปรียบประดุจดังหญิงสาว ซึ่งมีที่มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษจากคำว่า "Nymph" แปลว่า "เทพธิดาที่อยู่ในน้ำ" (A Beautiful Young Woman)

สกุล

บัวแบ่งออกเป็น 3 สกุลใหญ่ โดยนักพฤกษศาสตร์[3]คือ

ตัวอย่างสกุลบัวหลวงตัวอย่างสกุลบัวสายตัวอย่างสกุลบัววิกตอเรีย

บัวหลวง อยู่ในสกุลบัวหลวง ลักษณะใบชูเหนือน้ำ ก้านแข็ง เจริญเติบโตโดยมี ไหล ชอนไชไปใต้พื้นดิน พันธุ์ของบัวหลวงที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง บัวฉัตร หรือสัตตบงกช สีชมพู สีขาว และขาวปลายชมพู สีชมพูปลายขาว

บัวฝรั่ง อยู่ในสกุลบัวหลวง ลักษณะคล้ายบัวหลวง ต้นอ่อน เจริญเติบโตโดยสร้างลำต้น หรือเหง้า เจริญตามแนวนอนใต้ผิวดิน ลักษณะใบมีทั้งขอบเรียบและขอบใบจัก ได้แก่บัวฝรั่งสีชมพู และสีขาว

บัวผัน บัวเผื่อน อยู่ในสกุลสกุลบัวสาย ต้นที่งอกจากเมล็ดจะเจริญตามแนวดิ่งขึ้นสู่ผิวดิน แล้วแตกก้านใบบนผิวดินดอกชูพ้นน้ำ บานในเวลาเช้าหรือกลางวัน และหุบตอนเย็น เป็นบัวชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ช้า

บัวสาย อยู่ในสกุลบัวสาย มีหัวกลม ๆ สายขนาดปลายนิ้วก้อย มีขนเล็กน้อย ใบมน ขอบใบจักหรือใบหยักเป็นระเบียบ และเห็นเส้นใบเป็นร่างแหที่ชัดเจน ดอกบานกลางคืนจนถึงรุ่งเช้า และหุบในเวลาเช้า ที่พบจะมีดอกอยู่ 3 สี คือ สีขาว, สีม่วงแดง และสีชมพู[4]

จงกลนี อยู่ในสกุลบัวสาย มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะสร้างหัวเล็ก ๆ รอบเหง้า เมื่อหัวแก่จะเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาข้างๆต้นแม่

– บัววิกตอเรีย อมาโซนิกา (En:Victoria amazonica) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของ บัววิกตอเรีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 เมตร ก้านบัวยาว 7-8 เมตร พบอยู่ทั่วไปตามหนองน้ำตื้น ๆ ของแม่น้ำอะเมซอน วันที่ออกดอกวันแรกจะมีสีขาว แต่พอเข้าวันที่สองจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู

– บัววิกตอเรีย สายพันธุ์อังกฤษ (En:Victoria cruziana) เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า คือมีเส้นผ่านสูนย์กลางราว 1.5 เมตร แต่มีขอบกระด้งสูงราว 1 คืบ ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน คือ ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน

ในจำนวนบัวทั้งหมด บัวหลวงนับเป็นบัวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเกษตรกรปลูกมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ของการปลูกที่สำคัญ 2 ประการ คือ ปลูกเพื่อตัดดอกตูม ซึ่งนำไปใช้บูชาพระ และปลูกเพื่อเก็บเมล็ด ซึ่งสามารถใช้ประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน นอกจากนี้ส่วนอื่น ๆ ของบัวหลวง ก็ยังสามารถจำหน่ายและใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ เช่น ใบแห้ง ใช้ทำยากันยุง มวนบุหรี่ ต้มเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ และรักษาโรคตับ ใบสด ใช้ห่ออาหาร และไหลหรือราก สามารถนำมาเชื่อมเป็นอาหารหวาน มีสรรพคุณแก้ร้อนใน และระงับอาการท้องร่วง[5]