ปุโรหิตในนิกายโปรเตสแตนต์ ของ บาทหลวง

ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับของชาวโปรเตสแตนต์เรียกบาทหลวง (priest) ว่าปุโรหิต และถือว่าคริสตชนทุกคนเป็นปุโรหิตของพระเจ้าอยู่แล้ว ตามข้อความในพระธรรม 1 เปโตร ตอนหนึ่งความว่า

ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง...[5] (you are a chosen generation, a royal priesthood,…)

– เปโตร 2:9

จึงถือว่าคริสเตียนทุกคนเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้าโดยเท่าเทียมกัน

นิกายแองกลิคัน

แม้ว่าคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ส่วนมากจะมีทัศนะข้างต้น แต่คริสตจักรในแองกลิคันคอมมิวเนียน (ทั้งที่เป็นโปรเตสแตนต์) ก็ถือจารีตคล้ายกับนิกายคาทอลิก ในนิกายนี้จึงมีปุโรหิตที่มีลักษณะอย่างบาทหลวง คือต้องผ่านการบวช (ordination) ซึ่งเรียกว่าการสถาปนา[6] และยังมีการแต่งกายและหน้าที่ในศาสนพิธีคล้ายบาทหลวงโรมันคาทอลิก ปุโรหิตในนิกายแองกลิคันจึงเป็นนักบวช ไม่ใช่คริสตชนทุกคนดังที่คริสตจักรอื่น ๆ ในนิกายโปรเตสแตนต์ถือ

ข้อแตกต่างของนักบวชทั้งสองนิกายคือนิกายแองกลิคันอนุญาตให้นักบวชที่สังกัดมุขมณฑลแต่งงานได้ ขณะที่บาทหลวงคาทอลิก (ไม่ว่าสังกัดมุขมณฑลหรือสังกัดคณะนักบวช) มีกฎให้ต้องถือโสดตลอดชีวิต นอกจากนี้คริสตจักรส่วนใหญ่ในแองกลิคันคอมมิวเนียนยังอนุญาตให้บวชสตรีเป็นนักบวช (priest) ได้ ซึ่งเริ่มอนุญาตมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971[7]

ชาวไทยคนแรกที่รับสถาปนาเป็นนักบวชแองกลิคันท้องถิ่น (local Anglican priest) คือ ศาสนาจารย์ไพโรจน์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่คริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพฯ โดยมีศาสนาจารย์ อาร์ชบิชอป จอห์น ชิว (John Chew) เป็นผู้สถาปนา[8]