หนังสือวิจิตร ของ บาร์เตเลอมี_ฟัน_ไอก์

เอมิเลีย, อาร์ไซท์ และพาลามอนสวดมนต์ในวัดจาก "Théséide"

หนังสือวิจิตรที่เป็นผลงานของบาเธเลมีที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ได้แก่หนังสือประจำชั่วโมงที่หอสมุดมอร์แกนที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมทั้งงานของอองเกอรองด์ ควอตองบางส่วน และจุลจิตรกรรมอีกห้าชิ้นใน “หนังสือประจำชั่วโมงโดยเรอเนแห่งอองจู (ลอนดอน)” (The London Hours of René of Anjou) ที่หอสมุดแห่งชาติแห่งอังกฤษที่บรรยายถึงความคับแค้นระหว่างที่เรอเนไปเป็นนักโทษอยู่ที่ดิจอง ฮาร์ธันสันนิษฐานว่าแบบวาดอาจจะร่างโดยเรอเนเองโดยให้บาเธเลเป็นผู้วาดรายละเอียด: “ผู้แปลความคิดอันบรรเจิดของพระเจ้าแผ่นดิน บุคคลสองคนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งจนยากที่จะแยกจากกันซึ่งอาจจะนำมาถึงความร่วมมือทางศิลปะที่ประสบความสำเร็จ”[7]

ต้นฉบับที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสองฉบับคือ “ตำนานแห่งความรัก” (Livre du cueur d'amour esprit) และ "Théséide" ทั้งสองฉบับเป็นของหอสมุดแห่งชาติแห่งออสเตรียที่ กรุงเวียนนาในประเทศออสเตรีย ภาพในหนังสือเขียนระหว่างปี ค.ศ. 1460 ถึงปี ค.ศ. 1470 ประกอบด้วยจุลจิตรกรรมทั้งหมด 16 และ 17 ภาพตามลำดับ “ตำนานแห่งความรัก” เป็นหนังสือความรักแฝงคติในราชสำนักซึ่งเกือบจะเป็นที่แน่นอนว่าเขียนโดยเรอเน ตัวต้นฉบับมีเนื้อที่สำหรับจุลจิตรกรรมอีก 29 ภาพแต่มาเขียนเสร็จในต้นฉบับอีกเล่มหนึ่งที่เขียนโดยจิตรกรที่มีฝีมือด้อยกว่า และอาจจะเขียนจากภาพที่บาเธเลมีร่างไว้[2] ตำนานรักแบบอุดมคติ/วีรบุรุษมาเขียนตอนปลายสมัยซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้บาเธเลมีสามารถแฝงความเป็นจริงของชีวิตและความเข้าใจในชีวิตเข้าไปได้บ้าง ฝีมืงานเขียนเป็นฝีมือชั้นดีที่เห็นได้จากภาพสี่ภาพที่เป็นภาพกลางคืนและหลายภาพเป็นยามสลัวหรือยามรุ่งอรุณซึ่งบาเธเลมีถ่ายทอดได้อย่างงดงาม ต้นฉบับที่มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นภาพที่มีรายละเอียดอย่างซับซ้อนมากกว่าคือต้นฉบับที่แปลมาจากงานของจิโอวานนิ โบคคาชโชในภาษาอิตาลีชื่อ “Il Teseida delle nozze d'Emilia” ซึ่งตามทฤษฏีแล้วเป็นเรื่องของเธเซียส แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นตำนานรักอีกฉบับหนึ่งซึ่งประกอบด้วยฉากชีวิตของการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ที่วาดอย่างเลิศลอย

ไฟล์:Hennequin und Herman von) Brüder (Pol Limburg 008.jpgเดือนธันวาคมจากปฏิทิน “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี

งานที่เก่ากว่าที่กล่าวถึงคืองานวาดภาพประกอบคำบรรยายของเรอเนชื่อ “หนังสือการแข่งขันของพระเจ้าเรอเน” (King René's Tournament Book) ซึ่งเป็นงานสีน้ำบนกระดาษแทนที่จะเป็นสีฝุ่นบนหนัง[8]

นอกจากนั้นนักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายคนก็ยังเชื่อกันว่าบาเธเลมีเป็นคนคนเดียวกับ “ปรมาจารย์แสงเงา” (Master of the Shadows) ผู้เขียนภาพประกอบในหนังสือ “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี” ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงระยะเวลานานภายหลังพี่น้องลิมบวร์กเขียนจุลจิตรกรรมชิ้นสำคัญที่สุด (ทั้งพี่น้องและดยุคเสียชีวิตไปก่อนที่จะเขียนเสร็จ) หนังสือจึงอาจจะตกมาเป็นของเรอเน ฉากสำหรับเดือนกันยายนบางส่วนอาจจะเป็นงานของ “ปรมาจารย์แสงเงา” ซึ่งแสดงภาพวังโซมัวร์ (Saumur) ซึ่งเป็นของเรอเนและเป็นที่ที่เรอเนพำนักระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1460 นอกจากนั้นปรมาจารย์ก็ยังเขียนภาพเดือนมีนาคมหรือเขียนบางส่วน เดือนตุลาคม และเดือนธันวาคม ลักษณะช่องว่างในภาพที่ประกอบด้วยแสงเงาซึ่งเป็นลักษณะเด่นของงานของบาเธเลมีเป็นฝีมือที่เหนือกว่างานของพี่น้องลิมบวร์ก หน้าตัวแบบภายในรูปโดยเฉพาะชาวนาเป็นหน้าที่แสดงเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลแม้ว่าโครงร่างกายจะไม่ดีเท่าก็ตาม งานนี้และอาจจะงาน “ขบวนแห่ของนักบุญเกรกอรี” (วอลเธอร์และวูลฟ, op cit) เท่านั้นที่แสดงลักษณะการเขียนที่ว่านี้ งานเขียนอื่นๆ มาเพิ่มเติมหลายชั่วคนภายหลังโดยฌอง โคลอมบ์ (Jean Colombe)[9]