รูปแบบ ของ บิบโค้ด

รหัสจะยาว 19 อักษรอย่างตายตัวโดยมีรูปแบบ

YYYYJJJJJVVVVMPPPPA

ที่ YYYY เป็นปี ค.ศ. มีสี่หมายเลขของวรรณกรรมที่อ้างอิง และ JJJJJ เป็นรหัสที่บ่งว่า วรรณกรรมที่อ้างอิงได้ตีพิมพ์ในแหล่งไหนในกรณีที่ตีพิมพ์ในวารสาร VVVV จะเป็นเลขเล่ม (volume number) M จะระบุส่วนของวารสาร (เช่น L ในส่วนจดหมาย) PPPP จะบอกเลขหน้าขึ้นต้น และ A ก็จะเป็นอักษรแรกของนามสกุลอักษรโรมันของผู้เขียนคนแรกสำหรับเขตข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ ระบบจะใช้จุด/มหัพภาคเพื่อเติมเต็มและให้ยาวตายตัวโดยจะเติมทางด้านขวาของรหัสแหล่งตีพิมพ์ และทางด้านซ้ายของเลขเล่มและหน้า[1][2]เลขหน้าที่มากกว่า 9999 จะขยายเข้าไปในส่วน M

ส่วนรหัสบทความยาว 6 หมายเลข (แทนเลขหน้า) ที่ใช้ในวรรณกรรมฟิสิกส์ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 จะปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือเลขสองหลักแรกของรหัสบทความ ซึ่งเท่ากับเลขฉบับ (issue number) จะเปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก (01 = a เป็นต้น) แล้วใส่เข้าในส่วน Mส่วนเลข 4 ตัวที่เหลือจะใส่ในส่วนเลขหน้า[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: บิบโค้ด http://adsabs.harvard.edu/abs/1924MNRAS..84..308E http://adsabs.harvard.edu/abs/1970ApJ...161L..77K http://adsabs.harvard.edu/abs/1974AJ.....79..819H http://adsabs.harvard.edu/abs/2004PhRvL..93o0801M http://adsabs.harvard.edu/abs_doc/help_pages/data.... http://cdsweb.u-strasbg.fr/simbad/refcode/refcode-... //doi.org/10.1086%2F111614 //doi.org/10.1086%2F180574 //doi.org/10.1093%2Fmnras%2F84.5.308 //doi.org/10.1103%2FPhysRevLett.93.150801